นิ่วในถุงน้ำดี (Gall Stone) เช็คสัญญาณเสี่ยง อาการและแนวทางการรักษา
โรคที่มักพบบ่อยๆเป็นอันดับต้นๆจากพฤติกรรมของอาหารการกิน ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่หวานหรืออาหารที่มีไขมันสูงๆอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะสิ่งที่หาทานได้ง่ายๆไม่ว่าจะเป็นอาหารจำพวกของทอด หรือแม้แต่ปิ้งย่างชาบูก็รวมอยู่ในนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะส่งผลให้สมดุลของน้ำดีที่สูญเสียไป ผลก็คือทำให้เกิดก้อนผลึกขึ้นในถุงน้ำดี เกิดเป็นนิ่วในถุงน้ำดีขึ้นได้
ทำความรู้จักถุงน้ำดี
นับว่าเป็นโรคฮิตอีกโรคที่ต้องให้ความใส่ใจมากพอๆกับโรคอื่นเลยก็ว่าได้ ถุงน้ำดี (Gallbladder) คือ อวัยวะที่อยู่ในบริเวณช่องท้อง มีลักษณะเป็นกระเปาะ ทำหน้าที่เป็นที่พักหรือที่กักเก็บน้ำดีที่ถูกผลิตมาจากตับ ก่อนส่งต่อน้ำดีไปยังลำไส้เล็กเพื่อทำหน้าย่อยไขมัน โรคนิ่วในถุงน้ำดีมักพบใน ผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 1-2 เท่า (อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป) มักพบในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และคนที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง รวมถึงอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ได้เช่นกัน นิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อยที่สุด นิ่วในถุงน้ำดี เป็นชิ้นส่วนแข็งที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดี ชิ้นส่วนเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดี) ตกตะกอนผลึกเป็นก้อนคล้ายกับน้ำตาลที่ตกตะกอนอยู่ด้านล่างของขวดน้ำเชื่อม โดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ และอาจมีได้ตั้งแต่หนึ่งก้อนจนถึงหลายร้อยก้อนก็เป็นได้
นิ่วในถุงน้ำดี มี 2 ชนิด ได้แก่
- ชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol stones) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยประมาณ 80% ของนิ่วในถุงน้ำดีทั้งหมด มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือเขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในน้ำดี หรือการบีบตัวของกล้ามเนื้อในถุงน้ำดีมีสมรรถภาพไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถบีบสารออกได้หมด
- ชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน (pigment stones) ก้อนนิ่วชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าและมีสีคล้ำกว่าชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล มักพบในผู้ป่วยโรคตับแข็งหรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางจากการขาดเอนไซม์ G6PD
นิ่วในถุงน้ำดี…ใครมีโอกาสเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้บ้าง
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
- พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 1-2 เท่า
- ผู้หญิงที่มีบุตรแล้ว
- ผู้ที่มีระดับคลอเรสเตอรอลสูง
- ผู้ที่เป็นเบาหวาน, ธาลัสซีเมีย, โลหิตจาง
- หากพ่อแม่เคยเป็นโรคนี้ ลูกก็จะมีโอกาสเป็นได้มากกว่าคนทั่วไป
- คนที่มีพฤติกรรมในการกินอาหารที่มีไขมันสูง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่ว
- ความอ้วน คนอ้วนจะเกิดนิ่วที่มีคอเลสเตอรอล เนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนและการตั้งครรภ์ มีผลเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลและลดการเคลื่อนตัวของถุงน้ำดี ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้
- การได้ยาลดไขมันบางชนิด ทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดี
- โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และถุงน้ำดีจะมีการบีบตัวน้อยในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
- การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป
- เพศและอายุ โรคนิ่วในถุงน้ำดีพบมากในเพศหญิงและผู้สูงอายุ
- อาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงและเส้นใยต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
- พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากขึ้น
อดอาหาร หักโหมลดน้ำหนัก เสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี เนื่องจากถุงน้ำดีมันจะหลั่งน้ำดีออกมาสำหรับใช้ในการย่อยอาหารประเภทไขมัน แต่สิ่งที่เสี่ยงคือเมื่อคนๆหนึ่งหักโหมในเรื่องของการลดน้ำหนักโดยการอดอาหหาร อาจจะส่งสัญญาณให้ถุงน้ำดีบีบตัวน้อยลงเนื่องจากได้รับอาหารที่น้อยลงนั้นเอง เมื่อน้ำดีไม่ค่อยได้หลังออกมาก็จะสะสมอยู่นิ่งๆภายในถุงน้ำดี มีโอกาสที่จะเกิดการตกตะกอนกลายเป็นก้อนนิ่วได้ นอกจากนี้การกินยาลดคอเลสเตอรอล แม้จะเป็นการลดคอเลสเตอรอลในเลือด แต่อาจทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ สำหรับคนไทยแล้ว เราอาจเลือกจำง่าย ๆ แค่ 4F โดยตัดคำว่า Fair ออก เหลือแต่เพียง Fat, Female, Fertile & Forty แทน หากพบว่าตัวเองอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว ควรเลือกกินอาหารอย่างระมัดระวังและเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
กลุ่ม Fair, Fat, Female, Fertile & Forty (5F) เสี่ยงที่สุด
มีข้อสรุปที่น่าสนใจว่า หากเป็นผู้หญิงชาวยุโรปหรืออเมริกา ที่มีภาวะอ้วน เคยตั้งครรภ์มาแล้ว และมีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป หรือที่เรียกว่ากลุ่ม Fair, Fat, Female, Fertile & Forty (5F) จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นนิ่วในถุงน้ำดีสูงมาก
- Fair : หมายถึง ชนชาติผิวขาว (คนตะวันตก) เช่น คนยุโรป หรือคนอเมริกา
- Fat : หมายถึง กลุ่มคนที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
- Female : หมายถึง ผู้หญิง เนื่องจากพบความเสี่ยงในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- Forty : หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
- Fertile : หมายถึง ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะคนที่ผ่านการตั้งครรภ์มาแล้ว เนื่องจากช่วงที่ตั้งครรภ์มักมีความแปรปรวนของฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งส่งผลกับคอเลสเตอรอล
สำหรับคนไทยแล้ว เราอาจเลือกจำง่าย ๆ แค่ 4F โดยตัดคำว่า Fair ออก เหลือแต่เพียง Fat, Female, Fertile & Forty แทน หากพบว่าตัวเองอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว ควรเลือกกินอาหารอย่างระมัดระวังและเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
นิ่วในถุงน้ำดีโรคใกล้ตัวผู้หญิงวัย 40+
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมนิ่วในถุงน้ำดีพบมากในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงวัย 40 ปี นั่นเป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนมีส่วนทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงขึ้น ดังนั้นถ้าหากมีไขมันในเลือดสูง ทานยาคุมกำเนิดหรือทานฮอร์โมนจากภาวะหมดประจำเดือน มีบุตรหลายคน เป็นโรคเบาหวาน โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีทั้งสิ้น ดังนั้นหากสงสัยควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอัลตราซาวนด์โดยเร็วที่สุดการป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดีสามารถทำได้โดยดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เลี่ยงของมัน ของทอด ของหวาน ระวังไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ที่สำคัญตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากมีอาการผิดปกติในลักษณะที่ชวนสงสัยรีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจรุนแรงถึงขั้นถุงน้ำดีเน่า ถุงน้ำดีแตกจนเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเกิดมะเร็งถุงน้ำดีได้ในอนาคต
เด็กก็มีสิทธิ์เป็นเหมือนกันนะ!
แม้ว่ากลุ่มเสี่ยงตามที่ได้กล่าวไปแล้วจะไม่ใช่เด็ก แต่ก็มีปัจจัยกระตุ้นให้เด็กเป็นโรคดังกล่าวได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย ภาวะที่ผิดปกติของทางเดินน้ำดี มีพ่อแม่ที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี (พันธุกรรม) ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาเซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) นอกจากนี้ หากเด็กมีภาวะอ้วน มีน้ำหนักเกิน หรือมีพฤติกรรมการกินที่เน้นอาหารหวานมัน ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ด้วยเช่นกัน
นิ่วในถุงน้ำดี มีอาการอย่างไรบ้าง
ในช่วงแรกที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี บางคนอาจจะยังไม่แสดงอาการอะไร หรือมีอาการ แต่ไม่ทราบว่าเป็นนิ่วและไม่ได้ไปตรวจ แต่เมื่อผ่านไปนานวันเข้า นิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือสะสมเพิ่มจำนวนขึ้น จึงเริ่มมีอาการ
- แน่นท้อง ท้องอืด มีลมมาก
- ปวดจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ และอาจปวดร้าวไปบริเวณสะบักขวา
- อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย
ข้อสังเกตคือ มักจะมีอาการหลังกินอาหารมัน ๆ หรือช่วงเวลากลางคืน และมักจะเป็นอยู่ 1 – 2 ชั่วโมงก็หาย และขณะมีอาการ ผู้ป่วยจะยังพอขยับตัวได้ โดยทั่วไปพบว่า หากเริ่มมีอาการแล้ว ก็มักจะเป็นต่อเนื่องและรุนแรงขึ้น (เนื่องจากก้อนนิ่วมักไม่ได้หายไปไหน มีแต่สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ) เมื่อเริ่มมีก้อนนิ่วภายในถุงน้ำดีแล้ว มีโอกาสเกิดภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Acute Cholecystitis) ได้ทุกเมื่อ ซึ่งจะมีอาการรุนแรงกว่า โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้
- มีอาการปวด จุกแน่น เหมือนอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่มีอาการยาวนาน 4 – 6 ชั่วโมงแล้วยังไม่หาย
- มีอาการปวดท้องแบบรุนแรง หรือปวดจุกเสียดรุนแรงบริเวณลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา
- มีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ปัสสาวะเหลืองเข้ม หรืออุจจาระสีซีด
- เป็นไข้ มีอาการหนาวสั่น (ร่วมกับอาการข้างต้น)
- คลื่นไส้ อาเจียน (ร่วมกับอาการข้างต้น)
สัญญาณของการเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี คือมีอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย อาเจียนปวดท้องอย่างรุนแรงบริเวณช่วงท้องส่วนบนด้านขวา โดยปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน เป็นต้นข้อสังเกตคือ ผู้ป่วยแทบจะขยับตัวไม่ได้เลย เพราะจะปวดมาก และถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
การตรวจวินิจฉัย
เมื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย แพทย์จะซักถามอาการ ส่งตรวจร่างกาย และต้องมีการอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน ซึ่งเป็นวิธีที่ดีและง่ายในการตรวจนิ่วในถุงน้ำดี ข้อแนะนำ: เนื่องจากผู้ป่วยด้วยโรคนิ่วในถุงน้ำดีมักไม่รู้ตัวในระยะแรก ๆ และมักจะไปตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ หรือหลังจากมีอาการแล้วจึงค่อยไปตรวจ ดังนั้น จึงมีข้อแนะนำว่า หากเรารู้ว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรเข้ารับการตรวจเชิงป้องกันบ้าง
วิธีการรักษา
การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการจากนิ่วในถุงน้ำดี หากสามารถทำการผ่าตัดได้ แนะนำให้ผ่าตัดเพื่อเอาถุงน้ำดีออกทุกราย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องที่มักใช้รักษาผู้ป่วยในกรณีที่มีการอักเสบมากและแตกทะลุในช่องท้องจำเป็นต้องพักฟื้นค่อนข้างนาน และการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ที่แพทย์จะเจาะรูขนาดเล็กบริเวณหน้าท้องด้วยเครื่องมือเฉพาะ จากนั้นใส่กล้องเข้าไปเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนทุกมิติ ก่อนจะตัดขั้วและเลาะถุงน้ำดีให้หลุดออก วิธีนี้นอกจากช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน แผลยังมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ลดโอกาสการติดเชื้อ ผู้ป่วยฟื้นตัวไว ไม่ต้องพักฟื้นนาน ซึ่งควรผ่าตัดรักษาภายใน 72 ชั่วโมง และหลังจากผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปแล้ว ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการย่อยอาหาร เพราะถุงน้ำดีเป็นเพียงที่เก็บพักน้ำดี แต่ควรลดของมัน เน้นทานผักและปลามากขึ้น เพื่อให้ห่างไกลจากอาการท้องอืดและมีสุขภาพดีในระยะยาว
อาการแทรกซ้อนอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องนอกจากอาการอักเสบเฉียบพลันและอาการของผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีที่พบเป็นประจำแล้ว อาจมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นซึ่งอันตรายไม่แพ้กัน ได้แก่
- ตับและตับอ่อนอักเสบ : เกิดจากการอุดตันของนิ่วในท่อน้ำดี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดีซ่าน และทำให้ตับหรือตับอ่อนเกิดการอักเสบตามมาได้
- ลำไส้อุดตัน : เกิดจากการคั่งของน้ำดี แล้วทะลุไปยังช่องท้องหรือทะลุไปสู่อวัยวะอื่น ทำให้ก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่ ไปอุดตันบริเวณลำไส้ (มักเกิดกับบริเวณที่ลำไส้ตีบแคบ เช่น ileocaecal valve เป็นต้น)
- มะเร็งถุงน้ำดี : พบว่าผู้ป่วยมะเร็งถุงน้ำดีส่วนใหญ่ มีนิ่วในถุงน้ำดีร่วมด้วย และยิ่งถ้าก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่ถุงน้ำดีมากขึ้นไปอีก
- ติดเชื้อรุนแรง (กรณีผู้ป่วยเบาหวาน) : ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรได้รับการผ่าตัดโดยเร็ว เพราะถ้าปล่อยให้อักเสบขึ้นมาแล้ว มักจะมีภาวะติดเชื้อที่รุนแรงและเสี่ยงถึงชีวิตจะเห็นได้ว่า แม้จะยังไม่ได้มีอาการอักเสบเกิดขึ้น แต่การปล่อยให้เป็นนิ่วอยู่นาน ๆ ไม่เป็นผลดีแน่นอน ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนแนวทางรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีกว่าปล่อยไว้จนกระทั่งมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรง
การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด
ผู้ป่วยที่พึ่งได้รับการผ่าตัดมาใหม่ ๆ ให้กินอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แต่ควรลดปริมาณไข่แดงเนื่องจากมีคอเลสเตอรอลสูงหลังจากผ่าตัด สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ให้ระวังการออกแรง ออกกำลังกายหนัก ๆ หรือการยกของหนัก อย่างน้อยเป็นเวลา 4 สัปดาห์หลังผ่าตัด (โดยเฉพาะ กรณีที่ผ่าตัดแบบเปิด) และควรลดอาหารที่มีไขมันสักระยะหนึ่ง จนกว่าร่างกายจะปรับตัวได้นอกจากนี้ ควรมาให้แพทย์ตรวจติดตามหลังผ่าตัดอีก 1-2 ครั้ง หรือตามคำแนะนำที่เหมาะสม
ไม่อยากเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง
ส่วนมากแล้วเป็นข้อแนะนำในแง่ของการปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมการกิน ได้แก่
- กินอาหารให้ได้สัดส่วน เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารแปรรูปต่าง ๆ เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ดส์ อาหารทอด ชาบู-ปิ้งย่าง และ เนื้อติดมัน สัตว์ทะเลบางชนิด รวมถึงอาหารที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง เป็นต้น
- ลดหรือเลี่ยงของหวาน อาหารกินเล่นต่าง ๆ รวมทั้งแอลกอฮอล์ด้วย
- ควบคุมน้ำหนัก หมั่นเข้ารับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด และระดับของไขมันชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลไม่ใช้
- วิธีอดอาหาร เพื่อลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว แต่ให้ใช้วิธีคุมอาหาร ร่วมกับออกกำลังกายอย่างเหมาะสม (ออกกำลังกาย2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละครึ่งชั่วโมง)
- หากต้องกินยาคุมกำเนิด ยาลดคอเลสเตอรอล ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์
- ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี และควรทำอัลตราซาวด์ช่องท้องด้วย
- ควรศึกษาและตรวจเช็คว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ กลุ่มเสี่ยงควรติดตามดูแลตัวเองอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ผู้ที่รู้แล้วว่าตัวเองเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรพบแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาทันที อย่าปล่อยไว้จนมีอาการลุกลาม
สรุป
นิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคที่เกิดจากก้อนนิ่วไปอุดตันตามส่วนต่าง ๆ ในถุงน้ำดี ผู้ป่วยอาจมีอาการแน่นท้อง จุกเสียด ท้องอืดโดยเฉพาะเวลาทานอาหารประเภทไขมัน หรือบางคนก็ไม่แสดงอาการ สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีและนิ่วออก และไม่ควรปล่อยไว้จนกระทั่งอักเสบหรือเป็นโรคแทรกซ้อนแม้จะมีการอธิบายถึงกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าคนอื่น ๆ เช่น กลุ่ม 5F แต่เราก็ไม่ควรมองข้ามพฤติกรรมเสี่ยงของตัวเองที่อาจกระตุ้นให้เป็นโรคนี้ได้ โดยเฉพาะ การรับประทานอาหารที่มีไขมันในสัดส่วนที่สูง อาจกินได้บ้างตามโอกาส แต่ไม่ควรกินบ่อยหรือกินเป็นประจำสังเกตว่า การรักษาในปัจจุบัน ทำได้โดยการตัดถุงน้ำดีออก ซึ่งใครอ่านแล้วอาจจะตกใจไปบ้าง แต่ให้สบายใจได้ว่า แม้จะไม่มีโกดังกักเก็บน้ำดีแล้ว แต่ส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำดีก็ยังมีอยู่ ซึ่งก็คือ “ตับ” นั่นเอง เปรียบได้กับการใช้น้ำโดยตรงจากระบบประปาโดยไม่มีบ่อกักเก็บน้ำ ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยไขมันอาจลดลงไปบ้าง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายจะปรับตัวได้เอง ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อการรักษาและให้การดูแลแผลที่เหมาะสม
หากท่านกำลังกังวลเรื่องการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น ผู้สูงอายุ การกายภาพบำบัด การจัดกิจกรรมบำบัด การชะลอความเสื่อม ให้ ไอแคร์ เวลเนส จำกัด สามารถช่วยท่านดูแล ได้ทั้ง ระยะสั้น และระยะยาวค่ะ (รายวัน รายเดือน รายสัปดาห์)
สาขาในเมืองอุบล : 25/1 ถนน บูรพานอก ตำบล ปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000
MAP : https://maps.app.goo.gl/N1QevUBZrx3Jcsae8
สาขาห้วยวังนอง : 318/118 บ้านค้อเหนือ หมู่12, ตำบล กุดลาด อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000
MAP : https://maps.app.goo.gl/3mfAELzrGKt24G3D9
*********************************
ติดต่อสอบถามเพื่อขอรับบริการ
ไอแคร์ เวเนส จำกัด
ไอแคร์ เวลเนส เซ็นเตอร์
โทร : 066-112-9500
ไอแคร์ เนอร์สซิ่งโฮมอุบลฯ – i Care
โทร : 066-109-4500
Line : @icare-nursing (มี@)
อินบล็อกสอบถามได้ตลอด 24 ชั่วโมง
*********************************
#ไอแคร์ เวลเนส เซ็นเตอร์ #ไอแคร์ เนอร์สซิ่งโฮมอุบลฯ – i Care #ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ #อุบลราชธานี #ผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลสุขภาพ #ผู้ช่วยพยาบาล #อำนาจเจริญ #ยโสธร #ศรีสะเกษ #ดูแลผู้สูงอายุ #เนอร์สซิ่งโฮม #ประกันสุขภาพ #โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ #อุบลรักษ์ #โรงพยาบาลพริ้นซ์อุบลราชธานี #โรงพยาบาลราชเวช #ไอแคร์ #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพทุกช่วงวัย #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ #ดูแลผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลคนชรา #ดูแลคนแก่ #ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น #ห้องพักฟื้น #กิจกรรมบำบัด