ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟในการผู้ดูแลผู้สูงอายุ ปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขในเร็ววัน


หากคุณเป็นคนนั้นที่กำลังเหนื่อยล้าที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย เป็นคนนั้นหรือเปล่าที่ดูแลผู้ป่วยจนเหนื่อยและไม่อยากที่จะทำต่อ เป็นคนนั้นหรือเปล่าที่ดูแลผู้ป่วยจนไม่มีเวลาให้ตัวเอง และเป็นคน คนนั้นไหมที่ไม่อยากจะดุแลคนที่เรากำลังดูแลอยู่
Caregiver Burden ภาวะความเหนื่อยล้าของผู้ดูแล นับว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ไม่ควรเกิดขึ้นเป็นอย่างมากสำหรับการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ผู้ที่มีความทุพพลภาพนับว่าเป็นงานค่อนข้างเหน็ดเหนื่อย ใช้เวลามากและก่อให้เกิดความตรึงเครียดได้ค่อนข้างสูง รวมไปจนถึงตัวผู้ดูแลเองแล้วอาจจะมีปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องสุขภาพชีวิตและความเป็นอยู่รวมฐานะทางการเงิน หรือแม้กระทั่งปัญหาส่วนตัว เรื่องนี้คือสิ่งสำคัญซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถ้าผู้ดูแลปราศจากความช่วยเหลือจากคนรอบตัว จะทำให้เกิดความเหนื่อยล้า หรือ ที่เรียกว่า Caregiver Burden ได้ที่หนักว่านั้นบางท่านอาจเกิดภาวะหมดไฟในการดูแลหรือ Caregiver Burnout ได้ผู้ดูแลบางคนไม่ได้มีความรู้สามารถเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโดยตรง และยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมิหนำซ้ำยังมรภาระในด้านอื่นๆร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการงานภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และการที่ต้องมาดูแลผู้ป่วยเองบางท่านนั้นมีครอบครัวที่ต้องดูแลเอาใจใส่อยู่แล้ว ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยนั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก และหากผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยแบบเรื้อรังจะมีผลกระทบต่อผู้ดูแลอย่างมาก

ปัจจัยหลักๆที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแล
ปัจจัยที่ 1 ระดับความรุนแรงของภาวะทุพพลภาพ หรือความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย รวมไปจนถึงระดับภาวะของโรคแทรกซ้อน
ปัจจัยที่ 2 ปัญหาด้านสุขภาพของตัวผู้ดูแลเองในกรณีที่บางคนบางท่านเองอาจจะมีโรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงก็จะส่งผลต่อความเหนื่อยล้าของผู้ดูแลได้
ปัจจัยที่ 3 แหล่งให้ความช่วยเหลืออื่นๆ ในบางกรณีหรือในบางทีมีความยากลำบากในการประสานงานกับตัวญาติของผู้ป่วยหรือแม้แต่ผู้ใกล้ชิดที่ดูแลผู้ป่วยเอง หรือบางท่านอาจจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากใครเลย ก็จะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าที่สะสมเพิ่มเติมได้
ปัจจัยที่ 4 บทบาทและหน้าที่ของผู้รับผิดชอบท่านอื่นๆของตัวผู้ดูแลเอง ในบางท่านนั้นมีบทบาทและหน้าที่ ที่มากกว่า 1 อย่างนอกจากดูแลแล้วยังต้องดูแลส่วนอื่นในบ้าน อาจจะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มเติมได้อีก

ผู้ดูแลหลักอาจจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เบื่อยหน่ายได้เป็นบางเวลาแต่ถ้ามีความรู้สึกดึงกล่าวต่อดต่อกันเป็นเวลานานหรือตลอดเวลานั้น อาจจะส่งผลหรือเป็นสัญญาณเตือนว่าผู้ดูแลคนนั้นๆต้องการความช่วยเหลือซึ่งได้แก่สัญญาณดังต่อไปนี้

1.อยากจะหนีไปให้พ้นจากความรักผิดชอบที่ดูเหมือนกับมันกำลังทับถมกันมากขึ้นเรื่อยๆมากขึ้นทุกที
2.ผู้ดูแลรู้สึกเหมือนกำลังรับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ด้วยตัวคนเดียว
3.กิจวัตรประจำวันดูจัดการกับมันไม่ได้ดูยุ่งเหยิงและดูวุ่นวายสับสนไปหมดทุกอย่าง
4.ไม่มีเวลาได้ออกไปข้างนอกเข้าสังคมหรือแม้แต่ทำธุระส่วนตัว
5.การกินอยู่หลับนอนของผู้ดูแลเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
6.น้ำหนักลดเบื่ออาหาร เบื่อหน่ายไปหมดทุกเรื่อง
7.หงุดหงิดโกรธง่ายแม้แต่กับสาเหตุเพียงเล็กๆน้อยๆ
8.ไม่มีสมาธิจดจำสิ่งต่างๆหลงลืมแม้แต่สิ่งสำคัญ
9.การใช้ยาหรือการใช้สารเสพติดมากกว่าเดิม เช่นยานอนหลับ เหล้าหรือแม้แต่บุหรี่

เมื่อรู้จักสาเหตุสัญญาณต่างๆแล้วเรามาทำความรู้จักกับแนวทางการป้องกันผู้ดูแลที่เริ่มจะมีอาการเจ็บป่วย หรือมีอาการภาวะเหนื่อยล้าจากการดูแลผู้ป่วย

1.การวางแผนการดูแลให้ดีอย่าให้เป็นภาระที่ตกอยู่กับใครหรือคนใดคนหนึ่งอยู่ตลอดเวลาหรือมากเกินไป
2.หากเป็นไปได้อาจจะจ้างผู้อื่นให้มาดูแลชั่วคราวเป็นครั้งๆ หรือแม้แต่ การเปลี่ยนกะในผู้ที่มาดูแลแทนจะทำให้เกิดการผ่อนคลายหรือแม้แต่เกิดการความสะบายใจให้กับผู้ป่วยเองที่ไม่ต้องมาทนเห็นผู้ดูแลเกิดความไม่สะบายใจ เพื่อทำให้ผู้ดูแลหลักมีเวลาพักผ่อนหรือทำธุระส่วนตัวบ้าง
3.การแบ่งหน้าที่ให้ญาติหรือพี่น้องคนอื่นๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำมากๆเช่นเดียวกัน ได้มีส่วนรับผิดชอบบ้างเช่นภาระค่าใช้จ่ายภายในบ้านการทำความสะอาดบ้านหรือดูและความเรียบร้อยภายในบ้าน หรือแม้แต่หน้าที่พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาล
4.หาเวลาพักผ่อนไปทำกิจกรรมที่ผู้ดูแลชอบบ้างในบางโอกาสและเวลาเพื่อกัดการกับความเครียดหรือผ่อนคลายความเครียด
5.การพูดคุยการพบปะหรือแม้แต่การสังสรรค์การเข้าสังคมไปหาเพื่อน นอกจากการที่เราจะได้พูดคุยแล้วยังเป็นเรื่องของการส่งเสริมหรือการบรรเทาความเครียดของผู้ดูแลได้เป็นอย่างดี สิ่งนี้อาจจะได้กำลังใจดีๆจากคู่สนธนา หรือแม้แต่คำแนะนำดีๆบางอย่างจากเพื่อนด้วยก็เป็นไปได้
6.ดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอๆ
7.รู้จักการปล่อยวางบางเรื่องเราต้องจัดการกับความคาดหวังของตัวเอง โดยที่เราอาจจะไม่ได้คาดหวังจากสิ่งที่อยู่รอบตัวมากเกินไป เช่น อยากให้ผู้ป่วยหายขาด จนสามารถลุกขึ้นมาเดินเองได้กินข้าวเองได้ หรือแม้กระทั้งการอยากที่จะให้ญาติทุกคนมาช่วยกันหรือช่วยเหลือกันพร้อมหน้า
8.แบ่งเวลาให้กับบุคคลอันเป็นที่รักและบุคคลที่อยู่ภายในครอบครัวตัวเองบ้าง แทนที่กับการที่เราจะทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับการดูแลผู้ป่วยอย่างเดียวหรือเพียงคนเดียว
9.สำหรับในบางกรณีอาจจำเป็นต้องฝากผู้ป่วยไว้ในสถานพยาบาลบ้างหากผู้ดูแลติดธุระ หรือแม้กระทั้งรู้สึกว่าการดูแลนั้นเกินกำลังของตัวเองมากเกินไป

ความเหนื่อยล้าสำหรับผู้ดูแลนั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามการติดตามความคิดหรือแม้แต่ความรู้สึกของตัวเองเพื่อประเมินสัญญาณเตือนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ต้องยอดรับเลยว่าเมื่อเทคโนโลยีและความเจริญมากขึ้นทำให้ผู้มนุษย์นั้นมีอายุที่ยืนขึ้น แต่ด้วยอายุที่ยืนขึ้นกลับกลายเป็นว่าเรานั้นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่เร็วขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราการเกิดของประชากรโลก เรื่องนี้เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ ไอแคร์เวลเนส จำกัด เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่มักจะมาพร้อมกับโรคเรื้อรังทุพพลภาพและต้องการความดูแลที่มากขึ้น และแน่นอนกลุ่มประชากรเหล่านี้ก็ต้องการผู้ดูแลมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน แน่นอนว่าเมื่อภาระหน้าที่ของการดูแลผู้สูงอายุที่มากขึ้นและแน่นอนว่าผู้ดูแลก็มักจะมีอาการตามมาไม่ว่าจะเป็นความเหน็ดเหนื่อยความเครียดที่สูงขึ้นตามไปด้วย ยังรวมไปถึงปัญหาต่างๆของสุขภาพร่างกายของผู้ดูแลเอง มาสำรวจตัวเองกันว่าวันนี้ที่เราเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยอยู่ เราจะมีความเสี่ยงในการเป็น Caregiver burden หรือไม่

เช็คลิสต์กันในหัวข้อนี้
1.ลักษณะของผู้ป่วยที่ต้องดูแล : มีอาการมีความรุนแรงของโรคมากเช่นบางคนติดเตียงมีภาวะแทรกซ้อนแผลติดเชื้อ แผลกดทับหรือลักษณะนิสัยของตัวผู้ป่วยเองที่มีความยากต่อการดูแล ก็จะสามารถส่งผลให้ผู้ดูแลมีภาวะตรึงเครียดได้
2.ปัจจัยของตัวผู้ดูแล : ไม่ว่าจะเป็นอายุหรือแม้แต่โรคประจำตัว มีรายงานและการวิจัยมากมายระบุว่าหากผู้ดูแลหรือ Caregiver มีลักษณะของสภาวะซึมเสร้าก็จะส่งผลให้การดูแลนั้นเกิดความเหนื่อยล้าได้ง่ายมากขึ้นตามไปอีก นอกจากนี้ต้องประเมินว่าในการดูแลของผู้ดูแลนั้นมีใครหรือท่านใดมาช่วยดูแลหรือไม่และคนดูแลนั้นมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของอาการหรือตัวโรคมากน้อยแค่ไหนเพื่อจะได้ประเมินว่าเขามีความเสี่ยงต่อความเหนื่อยล้ามากน้อยแค่ไหน
3.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม : พบว่าหากผู้ดูแลหรือแม้แต่ตัว Caregiver เองมีปัจจัยหลายๆอย่างเช่น สภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย หรือแม้แต่ฐานะหนี้สินหรือการเดินทางที่ยากลำบาก ปัจจัยนี้จะทำให้ผู้ดูแลเกิดสภาวะ Caregiver Burden ได้ง่าย

แล้วเราจะทราบหรือจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ดูแลมีอาการหรือภาวะหมดไฟ หรือ Caregiver Burnout อาการหลักๆเลย คือ
1.ไม่อยากดูแลรับผิดชอบผู้ป่วย : ไม่อยากจะทำหน้าที่รับผิดชอบหรือหน้าที่ดูแลผู้ป่วยคนนี้แล้วทั้งที่ตัวเองเคยทำมาตลอด อยากจะหนี้ออกไปให้พ้นกับความรับผิดชอบ
2.รู้สึกรับผิดชอบอยู่คนเดียว : มีความรู้สึกว่าตัวเองกำลังรับผิดชอบสิ่งที่ยิ่งใหญ่อยู่ตัวคนเดียว รู้สึกว่าไม่มีใครคอยช่วยเหลือดุแล
3.รู้สึกจัดการกิจวัตรประจำวันของตัวเองไม่ได้ : มีความรู้สึกว่าจัดการกับกิจวัตรประจำวันของตัวเองไม่ได้สักที รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรก็ไม่เสร็จและงานก็เพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ วุ่นวายสับสนยุ่งเหยิง

Caregiver burden & burnout
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มักจะต้องมีผู้ดูแล ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นสมาชิกภายในครอบครัว ทำให้มีภาระที่เพิ่มขึ้นซึ่งอาจส่งผลให้เกิด Caregiver burden & burnout ตามมาได้
  • Caregiver burden : ภาระของผู้ให้การดูแล หรือ ภาวะเหนื่อยล้าของผู้ให้การดูแล เป็นภาวะที่ผู้ให้การดูแลเริ่มมีความรู้สึกว่าการให้การดูแล ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจของตนเอง เกิดความเหนื่อยล้าในการดูแลผู้ป่วย
  • Caregiver burnout : ภาวะหมดไฟในการดูแล หรือ ภาวะเบื่อหน่ายในการดูแล เป็นภาวะที่ร่างกายเกิดความเหนื่อยล้า และมีความเครียดจากการให้การดูแลผู้ป่วยเป็นเวลานาน จนทำให้ไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อีกต่อไป
  • การประเมิน Caregiver burden สามารถใช้ Zarit Burden Interview ซึ่งมีการแปลเป็นฉบับภาษาไทย จำนวน 11 ข้อ เป็นข้อคำถามแบบ Rating scale (0-4 คะแนน) ซึ่ง คะแนนรวม 11-20 บ่งบอกถึง ภาระของผู้ให้การดูแลระดับน้อยถึงปานกลาง และคะแนนรวมมากกว่า 20 บ่งบอกถึง ภาระของผู้ให้การดูแลระดับที่มาก
  • การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ควรให้การดูแลผู้ดูแลด้วยเสมอ การประเมิน Caregiver burden จะช่วยค้นหาปัญหาและให้การแก้ไข้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะสามารถป้องกันการเกิด Caregiver burnout ที่อาจตามมาได้

แนวทางสำหรับผู้ดูแลที่กำลังจะเหนื่อยล้า
1.วางแผนการดูแลให้ดี อย่าให้เป็นภาระตกหนักที่ใครเพียงคนเดียวตลอดเวลา
2.ถ้าเป็นไปได้ อาจจ้างผู้อื่นให้มาทำหน้าที่ดูแลชั่วคราวเป็นครั้งๆ เพื่อให้ผู้ดูแลหลักมีเวลาพักผ่อนหรือทำธุระส่วนตัวบ้าง
3.แบ่งหน้าที่ด้านต่าง ๆ ให้ญาติพี่น้องคนอื่นได้มีส่วนรับผิดชอบร่วมกันบ้าง เช่นภาระค่าใช้จ่ายในบ้าน การทำความสะอาดบ้าน หรือหน้าที่พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาล
4.หาเวลาพักผ่อนไปทำกิจกรรมที่ตนเองชอบบ้างเพื่อผ่อนคลายความเครียด
5.พูดคุยพบปะสังสรรค์ เข้าสังคมบ้าง นอกจากบรรเทาความเครียดแล้วอาจได้รับคำแนะนำในการแก้ปัญหาของตนเองได้
6.ดูแลรักษาสุขภาพกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ


ภาวะที่บ่งบอกว่ากำลังจะหมดไฟในการดูแล

  • อยากจะหนีไปให้พ้นความรับผิดชอบที่ดูเหมือนทับถมกันมากขึ้นทุกที
  • รู้สึกเหมือนกำลังรับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่างอยู่เพียงคนเดียว
  • กิจวัตรประจำวันดูช่างยุ่งเหยิง และวุ่นวายสับสนไปหมด
  • ไม่มีเวลาได้ออกไปข้างนอก เข้าสังคม หรือทำธุระส่วนตัว
  • การกิน อยู่ หลับนอน ของผู้ดูแลเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
  • น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เบื่อหน่ายไปหมด
  • หงุดหงิด โกรธง่ายแม้กับสาเหตุเพียงเล็กน้อย
  • ไม่มีสมาธิจดจำสิ่งต่างๆ หลงลืมแม้แต่สิ่งสำคัญ
  • ใช้ยาหรือสารเสพติดมากกว่าเดิม เช่น ยานอนหลับ เหล้า บุหรี่

การเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ดีนั้นต้องอาศัยทักษะ ความอดทน และความเข้าใจในหลายๆ ด้าน นอกจากการดูแลเรื่องร่างกายแล้ว ยังต้องมีความเอาใจใส่ด้านจิตใจและอารมณ์ด้วย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพและมีความสุขในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต ลักษณะของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ดีประกอบด้วยคุณสมบัติต่อไปนี้:

คุณสมบัติของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ดี

  1. มีความอดทนและใจเย็น
    • การดูแลผู้สูงอายุอาจต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้เครียดหรือเหนื่อยล้า แต่การอดทนและใจเย็นจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี
    • ความใจเย็นยังทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกปลอดภัยและไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ
  2. มีทักษะการสื่อสารที่ดี
    • ผู้ดูแลที่ดีต้องสื่อสารอย่างเข้าใจง่ายและชัดเจน เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นและสามารถรับข้อมูลได้ครบถ้วน
    • การฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจความต้องการของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกได้รับการยอมรับและเคารพในความรู้สึกของตนเอง
  3. เอาใจใส่และเป็นห่วงเป็นใย
    • ผู้ดูแลที่ดีควรแสดงความห่วงใยและเอาใจใส่ในการดูแลผู้สูงอายุในทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการดูแลด้านสุขภาพ การช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน หรือการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
    • การถามถึงความเป็นอยู่และรับฟังปัญหาของพวกเขาจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่ามีคนห่วงใยอย่างจริงใจ
  4. มีความรู้และทักษะด้านการดูแลผู้สูงอายุ
    • การดูแลผู้สูงอายุต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน เช่น การทำความสะอาด การช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวัน และการให้ยาตามที่แพทย์สั่ง
    • นอกจากนี้ ควรมีความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การเป็นลมหรืออาการบาดเจ็บเล็กน้อย
  5. มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ดี
    • เนื่องจากความต้องการของผู้สูงอายุอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสุขภาพและอารมณ์ ผู้ดูแลที่ดีต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
    • การสามารถเปลี่ยนแผนหรือวิธีการดูแลตามสถานการณ์จะช่วยให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดความเครียดในตัวผู้ดูแลเองด้วย
  6. มีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
    • ความเข้าใจในความรู้สึกและความต้องการของผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ช่วยให้การดูแลเป็นไปอย่างมีความหมาย เพราะผู้สูงอายุจะรู้สึกว่ามีคนเข้าใจและรู้สึกถึงความสำคัญของตนเอง
    • การเข้าใจความรู้สึกของผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและจิตใจจะทำให้ผู้ดูแลสามารถให้การสนับสนุนและกำลังใจได้ดียิ่งขึ้น
  7. รักษาความลับและให้เกียรติ
    • ผู้ดูแลควรให้เกียรติความเป็นส่วนตัวและรักษาความลับของผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุมักมีเรื่องราวส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้ใครรู้
    • การให้เกียรติและเคารพสิทธิของพวกเขาจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ
  8. มีความละเอียดและรอบคอบ
    • การดูแลผู้สูงอายุต้องใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างถูกต้อง เช่น การตรวจสอบยาที่ต้องรับประทาน หรือการสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
    • ความละเอียดอ่อนและรอบคอบจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดีที่สุด

Caregiver คืออะไร?

Caregiver คือ ผู้ให้การดูแลและช่วยเหลือบุคคลที่ต้องการการสนับสนุนในชีวิตประจำวัน ซึ่งมักจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษในการดำเนินชีวิต Caregiver สามารถเป็นทั้งบุคคลในครอบครัวหรือผู้ดูแลมืออาชีพที่มีการฝึกอบรมเฉพาะทางเพื่อให้การดูแลที่มีคุณภาพสูงขึ้น

หน้าที่หลักของ Caregiver ได้แก่:

  • ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การอาบน้ำ การแต่งตัว และการรับประทานอาหาร
  • ดูแลเรื่องการใช้ยา ตรวจสุขภาพเบื้องต้น และช่วยในการทำกายภาพบำบัด
  • ให้ความช่วยเหลือในการทำกิจกรรมภายในบ้าน เช่น ทำความสะอาด ซักผ้า หรือทำอาหาร
  • สร้างความบันเทิงและพูดคุยเพื่อช่วยเสริมสร้างจิตใจ ให้ผู้รับการดูแลรู้สึกผ่อนคลายและไม่เหงา
  • ช่วยในการเคลื่อนย้ายและดูแลความปลอดภัย เช่น การเดิน การย้ายจากที่นอนสู่เก้าอี้ หรือการป้องกันการหกล้ม

คุ้มไหมที่จะจ้าง Caregiver?

การตัดสินใจจ้าง Caregiver เพื่อดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ที่ต้องการการสนับสนุนในชีวิตประจำวันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้:

  1. ระดับความต้องการในการดูแล
    • หากผู้ที่ต้องการดูแลมีความต้องการพิเศษที่ต้องการความเชี่ยวชาญ หรือมีปัญหาสุขภาพที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด การจ้าง Caregiver ที่มีทักษะเฉพาะทางจะช่วยให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสมและปลอดภัย
    • หากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้บางส่วนและเพียงต้องการความช่วยเหลือเป็นบางครั้ง การจ้าง Caregiver แบบพาร์ทไทม์อาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า
  2. ภาระงานของครอบครัวและเวลา
    • หากสมาชิกครอบครัวมีภาระงานหรือไม่สามารถแบ่งเวลามาดูแลได้เต็มที่ การจ้าง Caregiver จะช่วยให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและครอบครัวมีเวลาสำหรับการพักผ่อนหรือทำกิจกรรมส่วนตัว
    • การจ้าง Caregiver ยังช่วยลดภาระความเครียดของครอบครัวที่อาจเกิดจากการต้องดูแลต่อเนื่อง
  3. คุณภาพการดูแล
    • Caregiver มืออาชีพมักมีการฝึกอบรมในด้านการดูแลสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงการจัดการเหตุฉุกเฉิน ซึ่งสามารถให้การดูแลที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บหรือปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น
    • การจ้างผู้ดูแลมืออาชีพช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการทางการแพทย์มากขึ้น
  4. ความสามารถทางการเงิน
    • ค่าใช้จ่ายในการจ้าง Caregiver อาจเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณา โดยค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับระดับความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และชั่วโมงการทำงานของ Caregiver
    • การจ้าง Caregiver เต็มเวลาหรือดูแลตลอด 24 ชั่วโมงอาจมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นควรพิจารณาความสามารถทางการเงินและเปรียบเทียบกับตัวเลือกอื่นๆ เช่น การสลับดูแลกันในครอบครัว

ข้อดีและข้อเสียของการจ้าง Caregiver

ข้อดี:

  • การดูแลที่มีประสิทธิภาพ: Caregiver ที่มีทักษะและความรู้เฉพาะจะช่วยให้ผู้รับการดูแลได้รับการดูแลอย่างมืออาชีพ
  • ลดภาระครอบครัว: ทำให้สมาชิกครอบครัวสามารถจัดการภาระในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้นและลดความเหนื่อยล้า
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ: การมี Caregiver ดูแลอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกปลอดภัยและได้รับการดูแลที่เพียงพอ

สรุป

การจ้าง Caregiver เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าสำหรับครอบครัวที่ต้องการการดูแลที่มีคุณภาพและไม่สามารถดูแลได้ด้วยตนเอง แต่ควรพิจารณาถึงความต้องการทางสุขภาพ ภาระงานของครอบครัว และความสามารถทางการเงิน การเลือก Caregiver ที่มีประสบการณ์และความเหมาะสมกับลักษณะการดูแลที่ต้องการจะช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุดและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ดูแลและผู้รับการดูแล

ดังนั้น หากคุณกำลังมองหา ‘ผู้ดูแลมืออาชีพ’ ให้คนในครอบครัวหรือคนสำคัญ ‘ไอแคร์ เวลเนส จำกัด’ ถือเป็นตัวเลือกที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ และบริการที่คุ้มค่ากับราคามากที่สุดในปัจจุบัน ด้วยการบริการที่เหนือกว่า

  1.  สถานที่สะดวกสบาย อุปกรณ์ทันสมัย ครบครัน เหมาะสำหรับการฟื้นฟูสุขภาพ
  2. ห้องพักตกแต่งสวยงาม ระดับมาตรฐาน (ห้องพักมีให้เลือกทุกความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ห้องรวม, Standard, Delux, VVIP)
  3. พื้นที่ภายในตึก ผ่านการออกแบบด้วยหลัก Universal design ที่เหมาะกับการใช้ชีวิตของผู้พักฟื้น และผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
  4. การบริการพรีเมี่ยม มีเจ้าหน้าที่ให้บริการดูแลตลอด 24ชม. จนท.ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 840ชม. และมีประสบการณ์ของเรา เพิ่มประสิทธิภาพช่วยลดความเสี่ยงและอาการบาดเจ็บจากการดูแลผิดวิธี
  5. ราคาสบายกระเป๋า เข้าถึงง่าย แพ็กเกจค่าใช้จ่ายปรับได้ตามใจผู้รับบริการ
  6. มีทีมสหวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 25ปี
  7. มีกิจกรรมนันทนาการระหว่างวันช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย และสมอง
  8. มีปุ่มฉุกเฉินทั่วอาคารรักษามาตรฐาน พร้อมเข้าช่วยเหลือทันทีเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน
  9. ใกล้ รพ.มากมาย รพ.สรรพสิทธิ์, รพ.พริ้นซ์, รพ.อุบลรักษ์ ตอบสนองทุกความต้องการและเป็นเลิศในด้านการบริการตามระบบสากลและได้มาตรฐาน

สรุป
เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้บริการ CareGiver สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็มีในหลายๆปัจจัยดั่งที่บทความข้างต้นได้กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งเลยที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องของความเป็นมืออาชีพ ที่ไอแคร์ เวลเนส จำกัด มีผู้ดูแลมากที่สุดในจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ดูแลในการสับเปลี่ยนหมุนเวียน และเรามีทีมงาน Customer service ให้บริการตลอด 7 วัน ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการหาคนแทน หรือการจัดเวรแต่อย่างใดเมื่อรับงานแล้วพร้อมดูแลคุณด้วยใจ

หากท่านกำลังกังวลเรื่องการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น ผู้สูงอายุ การกายภาพบำบัด การจัดกิจกรรมบำบัด การชะลอความเสื่อม ให้ ไอแคร์ เวลเนส จำกัด สามารถช่วยท่านดูแล ได้ทั้งระยะสั้น และระยะยาวค่ะ (รายวัน รายเดือน รายสัปดาห์)

 สาขาในเมืองอุบล : 25/1 ถนน บูรพานอก ตำบล ปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000
 สาขาห้วยวังนอง : 318/118 บ้านค้อเหนือ หมู่12, ตำบล กุดลาด อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000
 MAP : https://maps.app.goo.gl/3mfAELzrGKt24G3D9
*********************************

ติดต่อสอบถามเพื่อขอรับบริการ
 โทร : 066-109-4500
อินบล็อกสอบถามได้ตลอด 24 ชั่วโมง
*********************************
#ไอแคร์ เวลเนส เซ็นเตอร์ #ไอแคร์ เนอร์สซิ่งโฮมอุบลฯ – i Care  #ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ #อุบลราชธานี #ผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลสุขภาพ #ผู้ช่วยพยาบาล #อำนาจเจริญ #ยโสธร #ศรีสะเกษ #ดูแลผู้สูงอายุ #เนอร์สซิ่งโฮม #ประกันสุขภาพ #โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ #อุบลรักษ์ #โรงพยาบาลพริ้นซ์อุบลราชธานี #โรงพยาบาลราชเวช #ไอแคร์ #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพทุกช่วงวัย #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ #ดูแลผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลคนชรา #ดูแลคนแก่ #ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น #ห้องพักฟื้น #กิจกรรมบำบัด