อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
เรามักรู้ๆกันอยู่แล้วว่าโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะหนึ่งของสมองเสื่อมและเป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดอีกด้วย อัลไซเมอร์ส่งผลกระทบหลักๆต่อสมองส่วนควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา อาการของอัลไซเมอร์นี้จะเห็นได้ชัดคือ มักมีอาการหลงๆลืมๆ ที่ไม่ค่อยรุนแรงแต่มันจะแย่ลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยที่มีอาการหลักมากๆก็จะไม่สามารถตอบโต้หรือมีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ในไทยมีมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี
อาการของอัลไซเมอร์
เป็นอีกสิ่งที่หลายคนมองข้ามว่าอาการหลงๆลืมๆ แต่หากเป็นบ่อยเข้าสิ่งที่จะตามมายิ่งใหญ่กว่า คืออาการและบ่อเกิดของโรค อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) แต่ก็ใช่ว่าจะเกิดขึ้นแบบปุ๊บปั๊บฉับไวเพราะอาการเหล่านี้ต้องใช้เวลาสะสมกันหลายปีเลยก็ว่าได้ ซึ่งบางครับ ซึ่งบางครั้งมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่นจนทำให้เกิดความสับสน และอาจเข้าใจผิดไปว่าเป็นเพียงอาการหลงลืมเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้อาการในผู้ป่วยแต่ละรายก็พัฒนาช้าเร็วแตกต่างกัน ทำให้สามารถคาดเดาได้ยากว่าอาการจะแย่ลงเมื่อใด
อัลไซเมอร์มีกี่ระยะสามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะดังนี้
ระยะเริ่มต้น อาการในช่วงต้นของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละรายจะแตกต่างกันไป โดยสัญญาณแรกที่มักพบได้ก็คืออาการหลงลืมที่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเผชิญกับสถานการณ์ต่อไปนี้
- ลืมบทสนทนาหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
- วางของผิดที่ อาจไปวางในที่ที่ไม่น่าจะไปวางไว้
- ลืมหรือนึกชื่อสถานที่ สิ่งของไม่ออก
- ทำอะไรซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ เช่น ถามซ้ำคำถามเดิมหลายครั้ง
- ต้องใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานขึ้นกว่าปกติ
- ความสามารถในการตัดสินใจต่ำ การตัดสินใจกลายเป็นเรื่องยาก
- ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้น้อยลง มีความลังเลที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น
- อารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง เช่น หงุดหงิด กระวนกระวาย วิตกกังวลกว่าปกติ หรือมีอาการสับสนเป็นช่วง ๆ
ระยะกลาง เมื่ออาการของโรคเริ่มพัฒนาถึงขั้นต่อมา ผู้ป่วยจะยิ่งมีปัญหาด้านความทรงจำ ผู้ป่วยมักต้องได้รับความช่วยเหลือในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การอาบน้ำแต่งตัว และการเข้าห้องน้ำทำธุระส่วนตัว โดยอาการที่แสดงเพิ่มขึ้นอาจมีดังนี้
- การจำชื่อของคนรู้จักกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นทุกที พยายามนึกชื่อเพื่อนและครอบครัวแต่นึกไม่ออก
- เกิดภาวะสับสนและสูญเสียการรับรู้ด้านสถานที่ เวลา และบุคคล เช่น หลงทาง หรือเดินไปเรื่อยเปื่อยโดยไม่รู้วันเวลา
- การทำกิจวัตรประจำวันที่มีหลายขั้นตอนกลายเป็นเรื่องยากขึ้น เช่น การแต่งตัว
- มีพฤติกรรมหมกมุ่น ทำอะไรซ้ำ ๆ หรือวู่วาม
- ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีปัญหาในการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
- มีอาการหลงผิด เชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงอย่างสนิทใจ รวมถึงอาจรู้สึกหวาดระแวงหรือสงสัยในตัวผู้ดูแลหรือครอบครัวของตนเอง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือการใช้ภาษาสื่อสาร
- มีปัญหาด้านการนอนหลับ
- เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น อารมณ์ไม่คงที่ แปรปรวนบ่อยครั้ง มีภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล หงุดหงิด กระวนกระวายยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ
- ทำงานที่ต้องใช้การกะระยะได้ลำบาก
- มีอาการประสาทหลอน
ระยะปลาย ระยะที่อาการของโรครุนแรงขึ้นอย่างมากจนนำความเศร้าเสียใจและวิตกกังวลมาให้บุคคลใกล้ชิด ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดูแลและให้ความช่วยเหลือตลอด ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหว หรือการเข้าห้องน้ำ
- อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนที่เป็น ๆ หาย ๆ กลับยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ
- ผู้ป่วยอาจอาละวาด เรียกร้องความสนใจ และไม่ไว้วางใจผู้คนรอบข้าง
- กลืนและรับประทานอาหารลำบาก
- เปลี่ยนท่าทางหรือเคลื่อนไหวตัวเองลำบาก ต้องได้รับการช่วยเหลือ
- น้ำหนักลดลงมาก แม้จะรับประทานอาหารมากหรือพยายามเพิ่มน้ำหนักแล้วก็ตาม
- มีอาการชัก
- กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่
- ค่อย ๆ สูญเสียความสามารถในการพูดลงไปทีละน้อยจนไม่สามารถสื่อสารได้
- มีปัญหาด้านความทรงจำในระยะสั้นและระยะยาวอย่างร้ายแรง
อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยมีอาการแย่ลงอย่างกะทันหัน สาเหตุใหญ่ๆอาจจะมีผลพวงมาจากผลพวงของการใช้ยาอย่าง การติดเชื้อ โรคหลอดเลือดในสมอง หรือภาวะสับสนเฉียบพลันที่เกิดแทรกขึ้นมาได้ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สังเกตพบว่าอาการของตนแย่ลงอย่างรวดเร็วควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา
ทั้งนี้ ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคสมองเสื่อมเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะซึมเศร้า ความเครียด ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะสามารถช่วยตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นได้
โรคอัลไซเมอร์เกิดจากอะไร
สาเหตุของอัลไซเมอร์ พูดกันง่าย ๆ เลยคือเกิดจากการฝ่อตัวของสมองซึ่งส่งผลกระทบหลักๆของโครงสร้าง และรวมไปถึงการทำงานของสมองส่วนนั้นๆอีกด้วย แต่ที่น่าสนใจคือสาเหตุของการที่เกิดสภาวะสมองฝ่อยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่จากการสังเกตสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์พบว่ามีความผิดปกติที่คาดว่าจะเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงโรค นั้นคือการสะสมของ (Amyloid Plaques) อะไมลอยด์พลัค ซึ่งเป็นสารโปรตีนผิดปกติชนิดหนึ่ง มีกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary Tangles) และสารสื่อประสาทอะซีติลโคลีน (Acetylcholine) ในสมองที่ไม่สมดุลกัน นอกจากนี้ยังพบว่าเส้นเลือดในสมองของผู้ป่วยโรคนี้มักค่อย ๆ ถูกทำลายลง ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ประสิทธิภาพของเซลล์ประสาทลดลงและถูกทำลายทีละน้อย และเมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงแพร่กระจายไปสู่สมองหลาย ๆ ส่วน ซึ่งบริเวณที่จะได้รับผลกระทบเป็นส่วนแรกก็คือสมองที่ทำหน้าที่ด้านความทรงจำ
นอกจากสาเหตุที่คาดการณ์ข้างต้น ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ยังมีดังนี้
- อายุ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาของโรค
- ประวัติของบุคคลในครอบครัว พันธุกรรมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ กระนั้นก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้
- น้อยแม้จะมีผู้ป่วยในครอบครัว
- กลุ่มอาการดาวน์ เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์สูง
- ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรงจะยิ่งเสี่ยงพัฒนาไปเป็นโรคอัลไซเมอร์ยิ่งขึ้น
- โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคนี้มีปัจจัยการเกิดมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม
การวินิจฉัยอัลไซเมอร์
ผลของการวินิจฉัยโรคนี้โดยตรงยังไม่มีและยังตรวจแน่ชัดยังไม่ได้ การวินิจฉัยที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุดจะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูการสะสมของสารอะไมลอยด์ และกลุ่มใยประสาทที่พันกันในสมอง ที่มีความอันตรายต่อผู้ป่วยหากยังมีชีวิตอยู่วิถีการนี้เลยไม่ได้นำเอามาใช้หากผู้ป่วยยังมีชีวิต
ขั้นต่อไปอาจเป็นการวินิจฉัยเพื่อแยกโรคอื่นที่สามารถทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความทรงจำได้เช่นกัน ซึ่งมักจะใช้วิธีต่อไปนี้
- การตรวจร่างกายและประเมินระบบประสาท เป็นการตรวจสุขภาพประสาทของผู้ป่วยด้วยการทดสอบที่หลากหลาย เช่น การทดสอบปฏิกิริยาโต้กลับ
- การทดสอบสมรรถภาพทางจิตและการทำงานของสมอง การตรวจแยกโรคอื่นๆร่วมด้วย เช่น โรคความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หรือโรคขาดวิตามินบางชนิด
- การทดสอบสมรรถภาพทางจิตและการทำงานของสมอง เป็นการตรวจสภาวะทางจิตโดยรวมเพื่อประเมินทักษะด้านความทรงจำและความนึกคิด
- การถ่ายภาพสมอง เป็นการนำมาตรวจแยกโรคในหลายๆสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอก หรือการได้รับบาดเจ็บทางศีรษะ
. การตรวจเอมอาร์ไอสแกน (MRI Scan)
. การตรวจซีทีสแกน (CT Scan)
. การตรวจเพทสแกน (PET) - การตรวจน้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง วิธีตรวจในกรณีพิเศษจะนำมาใช้กับโรคสมองเสื่อมที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเกิดขึ้นในช่วงอายุน้อย โดยเก็บ ตัวอย่างทดสอบจากน้ำในไขสันหลังเพื่อหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
การรักษาอัลไซเมอร์
ปัจจุบันยังหาวิถีรักษาไม่ได้ หรือเรียกว่ายังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงการใช้ยาและการจัดการด้านบรรเทาทางความคิดและปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยร่วมด้วยด้วยกิจกรรมชละความเสื่อมร่วมไปด้วย ช่วยให้พัฒนาการของโรคช้าลง
ภาวะแทรกซ้อนของอัลไซเมอร์
สำหรับโรคอัลไซเมอร์ที่พัฒนาไปถึงระยะสุดท้าย การเปลี่ยนแปลงทางสมองที่เกิดขึ้นจะเริ่มส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย เช่น การกลืน การทรงตัว การควบคุมลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น
- สะดุดหกล้ม
- กระดูกหัก
- แผลกดทับ
- ภาวะโภชนาการ ภาวะขาดน้ำ
- สำลักอาหารหรือน้ำลงปอด ปอดบวมหรือเกิดการติดเชื้ออื่น ๆ
การป้องกันโรคอัลไซเมอร์
เนื่องจากปัจจุบันนั้นโรคอัลไซเมอร์ จังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ จึงยังไม่มีวิธีที่จะป้องกันได้อย่างเจาะจงและแม่นยำ แต่ก็ยังมีวีป้องกันและชะลอการเกิดโรคได้อยู่หลากหลายวิธี คือการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดตามมา โดยควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
- เลิกสูบบุหรี่
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินควร
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยเลือกรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 5 ส่วน
- หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที อาจเฉลี่ยเป็นวันละ 30 นาที ใน 5 วันต่อสัปดาห์
- ควรเลือกการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ให้ร่างกายได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ซ้ำๆ เช่น ปั่นจักรยาน วิ่งเร็ว จะช่วยให้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจดีขึ้น
- ตรวจและควบคุมระดับความดันโลหิต
- หากป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรควบคุมการรับประทานอาหารและการใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ
สรุป
อย่างไรก็ตามถึงแม้การรักษาโรค โรคอัลไซเมอร์ จะยังมามีวิธีที่รักษาให้หายขาดได้ ก็ยังมีวิธีป้องกันและการฝึกการทำงานของสมอง โดยการฝึกให้มีความกระฉับกระเฉงด้านร่างกาย ความคิด และทักษะทางสังคมเป็นประจำและสม่ำเสมอ หรือหากิจกรรมที่เป็นงานอดิเรกทำอยู่สม่ำเสมอจะได้มีการใช้ทักษะให่ระบบประสาททำงานอยู่ตลอดเวลา จะช่วยลดอาการของการเสื่อมของสมองได้ ได้แก่ การอ่านหนังสือ การเขียนเพื่อสุนทรียภาพของตนเอง การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การเล่นดนตรี เล่นเทนนิส ตีกอล์ฟ ว่ายน้ำ การเล่นกีฬาเป็นทีม และการเดิน อย่างไรก็ตามการทำการบำบัดทางจิตนอกจากการใช้ยาแล้ว การบำบัดโดยนักจิตวิทยา เช่น การกระตุ้นสมอง ก็อาจช่วยปรับปรุงความสามารถด้านความทรงจำ ความสามารถทางภาษา และทักษะการแก้ปัญหาได้ รวมทั้งการบำบัดทางจิตวิทยาด้านอื่น ๆ เช่น การบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด และการบำบัดด้วยการผ่อนคลาย ที่อาจนำมาใช้ช่วยรับมือกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล การเกิดภาพหลอน อาการหลงผิด และพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
หากท่านกำลังกังวลเรื่องการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น ผู้สูงอายุ การกายภาพบำบัด การจัดกิจกรรมบำบัด การชะลอความเสื่อม ให้ ไอแคร์ เวลเนส จำกัด สามารถช่วยท่านดูแล ได้ทั้งระยะสั้น และระยะยาวค่ะ (รายวัน รายเดือน รายสัปดาห์)
*********************************
*********************************
#ไอแคร์ เวลเนส เซ็นเตอร์ #ไอแคร์ เนอร์สซิ่งโฮมอุบลฯ – i Care #ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ #อุบลราชธานี #ผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลสุขภาพ #ผู้ช่วยพยาบาล #อำนาจเจริญ #ยโสธร #ศรีสะเกษ #ดูแลผู้สูงอายุ #เนอร์สซิ่งโฮม #ประกันสุขภาพ #โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ #อุบลรักษ์ #โรงพยาบาลพริ้นซ์อุบลราชธานี #โรงพยาบาลราชเวช #ไอแคร์ #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพทุกช่วงวัย #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ #ดูแลผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลคนชรา #ดูแลคนแก่ #ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น #ห้องพักฟื้น #กิจกรรมบำบัด