แผลกดทับ กับอันตรายที่คุณต้องรู้ และวิธีการดูแลแผลกดทับที่ถูกต้องของผู้ป่วยติดเตียง
แผลกดทับ คือแผลที่เกิดจากการกดทับหรือแม้แต่การเสียดสี ของผิวหนังบริเวณนั้นๆ หรือบริเวณหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้น สิ่งที่ตามมาคือเกิดอาการบาดเจ็บที่ผิวหนัง หรือแม้แต่เนื้อเยื่อ อาจส่งผลทำให้เกิดเป็นรอยแดง แผลเปิด หรือสิ่งที่จะตามมาอีกนั้นก็คือเกิดเป็นเนื้อตาย ที่สามารถลุกลามไปถึงกระดูกได้
แผลกดทับคืออะไร
แผลกดทับเป็นแผลที่เกิดจากการกดทับลงไปเป็นเวลานาน ทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลายแบบเฉพาะที่ เกิดเนื้อตายและแผลขึ้นมา อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ เช่น ส้นเท้า ก้นกบ ด้านข้างสะโพก เป็นต้น แผลกดทับเป็นแผลที่เกิดขึ้นบนผิวหนังและเนื้อเยื่อจากการที่ผิวหนังได้รับแรงกดทับเป็นระยะเวลานาน โดยการดูแลแผลกดทับถือเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพผู้ป่วย เนื่องจากแผลกดทับถือเป็นอาการที่อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) และมะเร็งบางชนิด แผลกดทับมักพบได้ในผู้ป่วยที่ต้องนั่งวีลแชร์เป็นระยะเวลานาน หรือผู้ป่วยติดเตียง เช่น ผู้ป่วยอัมพาต หรือผู้ที่เกิดการบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง เนื่องจากผู้ป่วยต้องอยู่ท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ทำให้ผิวหนังได้รับแรงกดทับจนเลือดอาจไหลเวียนไปเลี้ยงได้น้อยลง ซึ่งอาจส่งผลให้ผิวหนังตายและเกิดแผลกดทับตามมา
การดูแลแผลกดทับเบื้องต้น
การดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาเพราะแผลจะหายช้า หายยาก มักลุกลามขยายเป็นแผลขนาดใหญ่ขึ้น แผลลึกมากขึ้น และบ่อยครั้งอาจเกิดการติดเชื้อตามมา ดังนั้นเพื่อให้แผลกดทับหาย ป้องกันการลุกลามและการติดเชื้อ จึงมีสิ่งสาคัญที่ต้องคานึงถึง ได้แก่
- การทาแผลให้ถูกวิธีเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
- การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย เพื่อช่วยลดการกดทับและช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น ลดการลุกลามของแผลกดทับ
- การดูแลเรื่องอาหารเพื่อช่วยส่งเสริมให้แผลหายเร็วขึ้น
ความหมายของแผลกดทับ
แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะที่ของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์กดทับ การเกิดแผลกดทับมักพบในผู้ป่วยที่มีการนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน นอนติดเตียง ไม่ค่อยพลิกตะแคงตัว หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย มีข้อจากัดในการเคลื่อนไหวจนเกิดแผลกดทับที่ผิวหนังตามตาแหน่งต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูก เช่น กระดูกก้นกบ กระดูกเชิงกราน กระดูกสันหลัง ข้อศอกและส้นเท้า เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับ
- ขาดการเคลื่อนไหว เช่น นอนติดเตียงตลอดเวลา
- เคลื่อนไหวไม่ค่อยดีผอม
- ผิวหนังบาง ขาดน้ำ ขาดอาหาร
- โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นเลือดควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อมขณะนอนหลับ
ลักษณะแผลกดทับ
แผลกดทับสามารถระบุระยะที่เป็นได้จากระดับของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย
- ระยะที่ 1 ผิวหนังมีรอยแดง ๆ ใช้มือกดแล้วรอยแดงไม่จางหายไป ผิวไม่ฉีกขาด
- ระยะที่ 2 ผิวหนังเสียหายบางส่วน แผลตื้น ไม่พอง ไม่เป็นตุ่มน้ำใส
- ระยะที่ 3 แผลลึกถึงชั้นถึงไขมัน สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
- ระยะที่ 4 แผลลึกมองเห็นถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ สูญเสียผิวหนังทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีแผลกดทับที่เรียกว่า Deep Tissue Injury (DTI) เป็นแผลกดทับที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ผิวหนังไม่ฉีกขาด มีสีม่วงเข้มหรือสีเลือดนกปนน้ำตาล หรือพองเป็นตุ่มน้ำปนเลือด อาจเจ็บปวดร่วมด้วย ไม่สามารถระบุระยะที่เป็นได้
วิธีการรักษาแผลกดทับ
หัวใจสำคัญในการรักษาแผลกดทับ คือ การลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง ดูแลแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการรักษาแบบองค์รวมจะช่วยให้สามารถดูแลได้ครบทุกด้าน วิธีการรักษาแผลกดทับ ได้แก่ ลดแรงกดทับ โดยจัดท่านอนผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา ไม่นั่งกดทับแผล
- ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุปิดแผลที่ไม่ติดแผลมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล เนื้อตาย ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
- การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะและการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม
ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ที่มีแผลกดทับหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลกดทับ แพทย์จะแนะนำผู้ดูแลให้ซื้อที่นอนที่มีคุณสมบัติช่วยลดแรงกดทับ เช่น ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง หรือ ที่นอนชนิดโฟมกระจายน้ำหนักป้องกันแผลกดทับ ที่นอนลมสำหรับผู้ป่วยติดเตียง หลักการทำงานของที่นอนลม ใช้พลังงานปั๊มลมไฟฟ้าในการทำให้เตียงขยับอย่างต่อเนื่อง ลดโอกาสที่แผลกดทับจะสัมผัสกับผิวเตียงเป็นเวลานานๆ
5 วิธีการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับในผู้สูงวัยในภาวการณ์นอนติดเตียง
ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีปัญหาเรื่องการนอนติดเตียงที่มักจะมีปัญหาขาดสาอาหารจนทำให้ร่างกายมีอาการซูบผอมลงจนเกิดสภาวะเห็นปุ่มกระดูกได้อย่างชัดเจน รวมไปจนถึงผู้ป่วยบางรายอาจจะมีปัญหาด้านผิวหนังที่แห้งหรือหย่อนยาน ขาดความชุ่มชื้นและมีภาวะดรคภัยไข้เจ็บร่วมด้วย เลยทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับได้ หรือแม้กระทั้งแผลที่เสียดสีก็จะเกิดให้กลายเป็นแผลกดทับได้ไม่ว่าจะเป็น ภาวะเบาหวานที่เป็นภัยร้าย แผลอักเสบติดเชื้อง่าย ภาวะเส้นเลือดที่ปลายแขนขาที่ไม่ดี รวมถึงปัจจัยความชื้นของอากาศและวัสดุ ที่ไม่เหมาะสม พื้นผิวแข็งมีเสี่ยงต่อการเสียดสีมาก ก็จะเป็นปัญหาได้เช่นกัน
- การเปลี่ยนและจัดท่าของผู้ป่วย โดยยึดเอาตามความสามารถในการขยับ และการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเป็นที่ตั้งหากผู้ป่วยนอนติดเตียงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลยควรเปลี่ยนท่านอนใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง อาจจะเป็นถ้านอนหงายแล้วนอนตะแคงโดยอาจใช้หมอนข้างนิ่ม ๆ มากั้น รวมถึงใช้หมอนนิ่ม ๆ ใบเล็กแทรกอยู่ตามระหว่างปุ่มกระดูกที่อาจกดทับกันจนเป็นแผลได้ หากผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่สามารถนั่งบนรถเข็นควรจะเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุก ๆ 1 ชั่วโมงระหว่างอาบน้ำเช็ดตัวเปลี่ยนผ้าอ้อมควรหมั่นสังเกตสีผิวที่เปลี่ยนแปลง หากเริ่มแดง คล้ำ ดูอักเสบควรหมั่นพลิกตัวเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ
- ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือตัวเองได้น้อยมีภาวะโรคประจำตัวเยอะ ขาดสารอาหารรวมถึงมีปุ่มกระดูกขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งกดทับ สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เสริมได้ เช่น หมอนนุ่ม ๆ ที่จะช่วยลดแรงกดทับได้ เตียงลมที่มีคุณภาพ หรือเจลรองตำแหน่งกดทับเป็นต้น
- การป้องกันภาวะผิวหนังที่แห้งหรืออับชื้นมากจนเกินไป ในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะอุจจาระได้ แต่หากยังช่วยเหลือตัวเองได้ควรจัดตารางการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ใช้อยู่ให้สะอาดเป็นประจำรวมถึงอาจใช้ยา ครีมทาเคลือบผิว เพื่อลดอาการระคายเคือง หลังจากขับถ่าย เช่น มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) ทาผิวหลังอาบน้ำ และหลังทำความสะอาด รวมถึงเวลาที่พบผิวแห้ง และควรหมั่นสังเกตหากผู้สูงวัยมีอาการคันมากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่นแผลเบาหวาน ผื่นแพ้ผ้าอ้อม แพ้เทปปิดผิวหนัง หากเกามาก ๆ ไปนาน ๆ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จะเป็นอันตรายมาก ๆ
- การดูแลด้านโภชนาการให้ผู้สูงวัยได้รับอย่างครบถ้วนซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับอาหารผ่านทางสายยาง รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ การคำนวณปริมาณการรับสารอาหารหลัก ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันชนิดดี ไขมันอิ่มตัว และชนิดทรานส์ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง และการให้สารอาหารหรือวิตามินเสริมในสัดส่วนที่พอเหมาะ ในรายที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เสริมในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละรายก็เป็นสิ่งจำเป็น หากภาวะโภชนาการดี ก็จะทำให้โอกาสการเกิดแผลน้อยลง แม้ว่าจะเป็นแผลก็ฟื้นตัวได้ไวมากยิ่งขึ้น
- หมั่นสอดส่องความผิดปกติที่เกิดขึ้น กับผิวหนังบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลเช่น ตำแหน่งที่มีการกดทับ ตำแหน่งที่มีการเสียดสีบ่อย ๆ ปุ่มกระดูกที่พบมาก บริเวณก้นกบ ตาตุ่ม ข้อศอก และด้านข้างของเข่า รวมถึงใบหู ด้านหลังศีรษะ บริเวณปีกจมูกถ้าผู้ป่วยได้รับการใส่สายให้อาหารทางสายจมูกมานาน ๆซึ่งถ้าพบลักษณะสีผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง ม่วง หรือดูมีลักษณะการอักเสบ เช่นกดเจ็บ หรือเปลี่ยนเป็นสีดำ บ่งบอกถึงว่าบริเวณนั้น มีการกดทับ จนเนื้อตายที่รุนแรง หากมีลักษณะดังกล่าวควรจะขอความปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือหากพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะเพิ่มการดูแลการพลิกตัวให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดแผลลงได้
การจัดการระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันของแผลกดทับ
เมื่อพูดถึงการจัดการแผลกดทับตัวเลือกการรักษาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแผล สิ่งสําคัญคือต้องระบุระยะของแผลกดทับอย่างถูกต้องเพื่อกําหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด
- แผลกดทับระยะที่ 1 ซึ่งมีรอยแดงที่ไม่สามารถลวกได้บนผิวหนังที่ไม่บุบสลายจุดสนใจหลักคือการบรรเทาแรงกดและป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม สิ่งนี้สามารถทําได้โดยการเปลี่ยนตําแหน่งบ่อยๆ โดยใช้เบาะรองนั่งหรือที่นอนแบบพิเศษ และรับประกันโภชนาการและความชุ่มชื้นที่เหมาะสม
- แผลกดทับระยะที่ 2 เกี่ยวข้องกับการสูญเสียผิวหนังที่มีความหนาบางส่วนและอาจแสดงเป็นแผลเปิดตื้นหรือตุ่มพอง นอกจากการบรรเทาแรงกดแล้ว ทางเลือกในการรักษายังรวมถึงการรักษาแผลให้สะอาดและชุ่มชื้น
- แผลกดทับระยะที่ 3 มีลักษณะการสูญเสียผิวหนังที่มีความหนาเต็มที่ขยายเข้าไปในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง บาดแผลเหล่านี้มักต้องการการดูแลอย่างเข้มข้นมากขึ้นเช่นการขจัดเนื้อเยื่อที่เป็นเนื้อร้ายการใช้น้ําสลัดขั้นสูงและศักยภาพในการแทรกแซงการผ่าตัด
- แผลกดทับระยะที่ 4 นั้นรุนแรงที่สุด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสียหายของเนื้อเยื่ออย่างกว้างขวางและอาจไปถึงกล้ามเนื้อหรือกระดูก การจัดการบาดแผลเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับวิธีการแบบสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงการแทรกแซงการผ่าตัด เช่น การปลูกถ่ายผิวหนังหรืออวัยวะเพศหญิง และเทคนิคการดูแลบาดแผลเฉพาะทาง
สิ่งสําคัญคือต้องทราบว่าแผนการดูแลเป็นรายบุคคลเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการจัดการแผลกดทับอย่างมีประสิทธิภาพในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน อาการของผู้ป่วยแต่ละรายมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และการรักษาควรปรับให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของพวกเขา ควรคํานึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น สุขภาพโดยรวม ความคล่องตัว และความสามารถในการทนต่อการแทรกแซงบางอย่างของผู้ป่วยเมื่อพัฒนาแผนการดูแล นอกจากนี้ การติดตามและประเมินแผลกดทับเป็นประจําเป็นสิ่งสําคัญเพื่อให้แน่ใจว่าวิธีการรักษาที่เลือกนั้นมีประสิทธิภาพ การปรับเปลี่ยนอาจจําเป็นขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแผลต่อการรักษาและการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในสภาพของผู้ป่วย โดยสรุป การจัดการแผลกดทับในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันต้องใช้วิธีการที่ครอบคลุมซึ่งตอบสนองความต้องการเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยการระบุระยะของแผลกดทับอย่างถูกต้องและดําเนินการตามแผนการดูแลเป็นรายบุคคลบุคลากรทางการแพทย์สามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาบาดแผลที่ประสบความสําเร็จและปรับปรุงความเป็นอยู่โดยรวมของผู้ป่วย การดูแลรักษาแผลระดับต่างๆที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะฉนั้นความสำคัญของการรักษานั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆของการรักษาที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะมาทำ และที่ไอแคร์ เวลเนส จำกัดนั้น เราจึงเล็งเห็นความสำคัญนี้ ที่ต้องคอยดูแลความสะอาดของแผลเพื่อไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้ และเป็นแผลที่ลึกขึ้นหรือรุนแรงจนกลายเป็นแผลขึ้นต่อไป และย่อหน้าต่อไปนี้จะพาไปทำความรู้จักกับการรักษาแผลกดทับในระยะต่างๆ การดูแลแผลกดทับแต่ละระดับก็เป็นอีกอย่างที่ควรทำความรู้จักและเข้าใจมันและควรให้ความสำคัญไม่แพ้อย่างอื่นเลยก็ว่าได้ และที่ ไอแคร์ เวลเนส จำกัด ที่ให้ความสำคัญกับผู้ที่ต้องรักษาผู้ที่มาใช้บริการ ขึ้นตอนแรกคือการป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟู ตามลำดับอย่างไรก็ตามเรามาทำความรู้จักกับการดูแลและรักษาแผลกดทับแต่ละระดับไปกับย่อหน้านี้
การดูแลแผลกดทับและการทำความสะอาด
การทำความสะอาดแผล
จุดประสงค์เพื่อกาจัดสิ่งสกปรก แบคทีเรียที่อยู่บนพื้นแผล ประกอบด้วย อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล
ชุดทำความสะอาดแผลปลอดเชื้อ , กระบอกฉีดยาขนาด 20 ซีซี สาหรับฉีดล้างแผล , ถุงมือสะอาด , พลาสเตอร์เทปติดผ้าก๊อซ., ถุงขยะ
- น้้ำยาทำความสะอาดแผลน้ำเกลือปราศจากเชื้อ
- เป็นน้ำยำล้ำงแผลที่ดีที่สุด
- ไม่ท้ำลำยเนื้อเยื่อสร้างใหม่ที่แผล
- ไม่ทำให้แผลแสบหรือระคำยเคือง
- ห้ามใช้ !!! ทำความสะอาดแผลเพราะ จะทำให้เนื้อเยื่อสร้างใหม่ถูกทำลาย
- ยาแดง
- เบตาดีน
- แอลกอฮอล์
- ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
- วัสดุปิดแผล
- กลุ่มวัสดุปิดแผลชนิดแผ่นตาข่ายที่เคลือบด้วยสารที่ให้ความชุ่มชื้น เช่น วาสลีน ซิลิโคน
- กลุ่มโพลียูริเทนโฟม ช่วยดูดซับและควบคุมสิ่งขับหลั่งจากแผลที่มีปริมาณปานกลาง
วิธีการทำความสะอาดแผล
การเช็ด ใช้สาลีชุบน้าเกลือปราศจากเชื้อทำความสะอาดพื้นแผลอย่างเบามือโดยเช็ดจากข้างในแผลออกนอกแผลห่างจากขอบแผลประมาณหนึ่งนิ้ว และซับให้แห้ง
การฉีดล้าง เหมาะสาหรับแผลลึกมีโพรงแผล ทำโดยใช้กระบอกฉีดยาบรรจุน้าเกลือปราศจากเชื้อฉีดล้างทำความสะอาดแผล 2-3 ครั้งจนกระทั่งน้ายาทำความสะอาดแผลที่ใช้มีความใส
การดูแลแผลกดทับ
สามารถดูแลตามระดับความรุนแรงของแผลกดทับ แบ่งเป็น 4 ระดับ และ 2 ลักษณะ ดังนี้
แผลกดทับระดับ 1 ผิวหนังบริเวณที่ถูกกดทับเป็นรอยแดง ผิวหนังยังไม่เกิดการฉีกขาด รอยแดงเหล่านี้จะไม่หายไปภายในประมาณ 30 นาที เมื่อมีการพลิกตะแคงตัวหรือเปลี่ยนอิริยาบถใช้นิ้วมือกดพบว่ารอยแดงยังคงอยู่
- การดูแล
- พลิกตะแคงตัวบ่อยๆ อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง โดยใช้ผ้ารองยกตัว หลีกเลี่ยงการลากดึง ร่วมกับยกส้นเท้าลอยจากพื้นผิวเตียงโดยใช้หมอนหรือผ้ารองใต้น่อง
กรณีนอนตะแคง ให้จัดท่านอนตะแคงกึ่งหงายเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดโดยตรงกับปุ่มกระดูกบริเวณไหล่และสะโพก ใช้หมอน ผ้า หรือเบาะสอดคั่นระหว่างเข่าและขาทั้งสองข้างเพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับระหว่างปุ่มกระดูกห้ามใช้ ห่วงยางหรือถุงมือยางใส่น้ำรองตามปุ่มกระดูก เพราะจะทาให้เกิดการกดหลอดเลือดใต้ผิวหนังทาให้เนื้อเยื่อถูกทาลายหรือตายได้ - จัดผ้าปูที่นอนให้เรียบตึง แห้ง และสะอาดอยู่เสมอ เพราะรอยย่นของผ้าปูที่นอนจะทาให้ผิวหนังที่แดงแล้วเกิดเป็นแผลกดทับได้ง่าย
- ห้ามนวดหรือประคบด้วยความร้อนบริเวณผิวหนังที่มีรอยแดง เพราะ การนวดหรือการประคบด้วยความร้อนจะเพิ่มการอักเสบของผิวหนังส่วนนั้น เสี่ยงต่อการฉีกขาดของผิวหนัง
- ทำความสะอาดทุกครั้งหลังการขับถ่ายด้วยสาลีชุบน้ำเปล่าโดยไม่ขัดถูและซับให้แห้ง ใส่ผ้าอ้อมสาเร็จรูปหรือผ้ารองเปื้อนแบบหนาและเปลี่ยนทุกครั้งที่มีการขับถ่าย
- ดูแลผิวหนังให้สะอาด ใช้โลชั่นหรือครีมบารุงผิวทาผิวหนังบ่อยๆเพื่อช่วยให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น
แผลกดทับระดับ 2 มีการสูญเสียชั้นผิวหนังบางส่วนจนมองเห็นชั้นหนังแท้ ลักษณะพื้นแผลมีสีชมพูหรือสีแดง หรืออาจพบลักษณะของตุ่มน้ำใสหรือเป็นตุ่มน้ำใสที่แตก
- การดูแล
- ทำแผลโดยใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อทำความสะอาดรอบแผลและภายในแผล แล้วปิดด้วยผลิตภัณฑ์ปิดแผลเพื่อควบคุมความชุ่มชื้นให้กับแผล ได้แก่ วัสดุปิดแผลชนิดแผ่นตาข่ายที่เคลือบด้วยสารที่ให้ความชุ่มชื้น หรือกลุ่มโพลียูริเทนโฟม ช่วยดูดซับและควบคุมสิ่งขับหลั่งจากแผลที่มีปริมาณปานกลาง เป็นต้น
- พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อลดการกดทับแผลและส่งเสริมการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงแผลกดทับ
แผลกดทับระดับ3 มีการสูญเสียชั้นผิวหนังทั้งหมดมองเห็นชั้นไขมันในแผล อาจมีเนื้อตายสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีดำ
- การดูแล
- ทำแผลโดยใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อทำความสะอาดแผล – แผลตื้น ใช้สาลีชุบน้ำเกลือปราศจากเชื้อเช็ดทำความสะอาดพื้นแผลอย่างเบามือโดยเช็ดจากข้างในแผลออกนอกข้างนอกแผล – แผลลึกมีโพรงแผล ทำโดยใช้กระบอกฉีดยาบรรจุน้ำเกลือปราศจากเชื้อฉีดล้างทำความสะอาดแผล 2-3 ครั้ง จนกระทั่งน้้ำยาทำความสะอาดแผลที่ใช้มีความใส
- ใช้ผลิตภัณฑ์ปิดแผลตามคาแนะนำของแพทย์และพยาบาล
- ถ้ามีไข้ หรือแผลเป็นหนอง แผลมีเนื้อตายที่มีกลิ่นเหม็น แผลมีขนาดกว้างขึ้น ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาและให้การดูแลแผลที่เหมาะสม
แผลกดทับระดับ 4 มีการสูญเสียชั้นผิวหนังทั้งหมดและชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง มองเห็นพังพืด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกอ่อน หรือกระดูกในบริเวณแผลได้
การดูแล แผลกดทับระดับ 4 เป็นแผลที่มีความลึกลุกลามเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อ และ/หรือกระดูก มักพบแผลมีการติดเชื้อ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาและให้การดูแลแผลที่เหมาะสม
แผลกดทับที่ไม่สามารถระบุระดับได้ ลักษณะพื้นแผล ทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยเนื้อตายเปื่อยยุ่ยหรือเนื้อตายแห้งแข็ง
การดูแล แผลกดทับในลักษณะนี้ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อ ทำการรักษาโดยการกาจัดเนื้อตายและให้การดูแลแผลที่เหมาะสม
แผลกดทับที่มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อชั้นลึก ลักษณะแผลกดทับมี การเปลี่ยนแปลงสีผิวเป็นสีแดงช้าหรือสีม่วง ผิวหนังยังไม่เกิดการฉีกขาดหรือผิวหนังฉีกขาดเป็นแผล หรือพบเป็นลักษณะของตุ่มน้ำที่มีเลือดอยู่ข้างใน
- การดูแล
- พลิกตะแคงตัวบ่อยๆ อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง โดยใช้ผ้ารองยกตัว หลีกเลี่ยงการลากดึง ร่วมกับยกส้นเท้าลอยจากพื้นผิวเตียงโดยใช้หมอนหรือผ้ารองใต้น่อง กรณีนอนตะแคงตัวให้จัด ท่านอนตะแคงกึ่งหงายเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดโดยตรงกับปุ่มกระดูกบริเวณไหล่และสะโพก ใช้หมอน ผ้า หรือเบาะสอดคั่นระหว่างเข่าและขาทั้งสองข้างเพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับระหว่างปุ่มกระดูก
- จัดผ้าปูที่นอนให้เรียบตึง แห้ง และสะอาดอยู่เสมอ เพราะรอยย่นของผ้าปูที่นอนจะทำให้ผิวหนังที่แดงแล้วเกิดเป็นแผลกดทับได้ง่าย
- ปิดแผลด้วยผลิตภัณฑ์ปิดแผลตามคาแนะนำของแพทย์หรือพยาบาลหากแผลกดทับที่มีกลิ่นเหม็น ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาและให้การดูแลแผลที่เหมาะสม
อาหารที่ส่งเสริมการหายของแผล
- โปรตีน จากเนื้อสัตว์ต่างๆ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง
- วิตามินซี ได้แก่ ฝรั่ง ส้ม ส้มโอ มะขามป้อม กีวี่ มะเขือเทศ บล็อกโคลี สับปะรด
- วิตามินเอ ได้แก่ ปลา ผักใบเขียว แครอท มันเทศ มะม่วง มะละกอ แตงโม
- แร่ธาตุสังกะสี พบมากในปลา อาหารทะเล เนื้อแดง ถั่วเปลือกแข็ง
- แร่ธาตุเหล็ก พบมากในปลา ไข่แดง ตับ ผักโขม ผักบุ้ง ผักคะน้า
- การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วหรืออย่างน้อย 2500 มิลลิลิตรต่อวัน
สรุปการดูแลแผลกดทับมีหลักสำคัญคือ ดูแลแผลไม่ให้มีการลุกลามมากขึ้น ร่วมกับการส่งเสริมการหายของแผล ตั้งแต่การทำแผลให้ถูกวิธี การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยเพื่อลดการกดทับและช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น การดูแลเรื่องอาหารเพื่อช่วยส่งเสริมให้แผลหายเร็ว ถ้าพบว่าแผลกดทับลุกลามเพิ่มขึ้นหรือมีการติดเชื้อที่แผล ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อการรักษาและให้การดูแลแผลที่เหมาะสมหากท่านกำลังกังวลเรื่องการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น ผู้สูงอายุ การกายภาพบำบัด การจัดกิจกรรมบำบัด การชะลอความเสื่อม ให้ ไอแคร์ เวลเนส จำกัด สามารถช่วยท่านดูแล ได้ทั้ง ระยะสั้น และระยะยาวค่ะ (รายวัน รายเดือน รายสัปดาห์)
สาขาในเมืองอุบล : 25/1 ถนน บูรพานอก ตำบล ปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000
MAP : https://maps.app.goo.gl/N1QevUBZrx3Jcsae8
สาขาห้วยวังนอง : 318/118 บ้านค้อเหนือ หมู่12, ตำบล กุดลาด อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000
MAP : https://maps.app.goo.gl/3mfAELzrGKt24G3D9
*********************************
ติดต่อสอบถามเพื่อขอรับบริการ
ไอแคร์ เวเนส จำกัด
ไอแคร์ เวลเนส เซ็นเตอร์
โทร : 066-112-9500
ไอแคร์ เนอร์สซิ่งโฮมอุบลฯ – i Care
โทร : 066-109-4500
Line : @icare-nursing (มี@)
อินบล็อกสอบถามได้ตลอด 24 ชั่วโมง
*********************************
#ไอแคร์ เวลเนส เซ็นเตอร์ #ไอแคร์ เนอร์สซิ่งโฮมอุบลฯ – i Care #ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ #อุบลราชธานี #ผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลสุขภาพ #ผู้ช่วยพยาบาล #อำนาจเจริญ #ยโสธร #ศรีสะเกษ #ดูแลผู้สูงอายุ #เนอร์สซิ่งโฮม #ประกันสุขภาพ #โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ #อุบลรักษ์ #โรงพยาบาลพริ้นซ์อุบลราชธานี #โรงพยาบาลราชเวช #ไอแคร์ #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพทุกช่วงวัย #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ #ดูแลผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลคนชรา #ดูแลคนแก่ #ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น #ห้องพักฟื้น #กิจกรรมบำบัด