ไข้หวัดใหญ่ (INFLUENZA) รู้ไว้! ป้องกันไข้หวัดใหญ่ระบาด
นับว่าเป็นโรคฮิตเลยก็ว่าได้สำหรับไข้หวัดใหญ่ และเป็นโรคฮิตที่มาพร้อมกับหน้าฝนไข้หวัดใหญ่ พบได้ในทุกช่วงอายุซึ่งมักพบในเด็ก แต่อัตราการเสียชีวิตเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันที่ได้ผลมากที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน และลดเวลาการหยุดงานได้ อาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไปนั้นมักจะเป็นการติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล มีไข้ต่ำๆ ส่วนไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อที่เรียกว่า Influenza virus เป็นการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจจะลามลงปอด ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างเร็ว ไข้สูงกว่าไข้หวัด ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย อย่างเฉียบพลัน
ลักษณะโรค
เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเกือบทุกทวีป ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตนับล้านคน
สาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมี 3 ชนิด (type) คือ A, B และ C
ไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไวรัสชนิด B ทำให้เกิดการระบาดในพื้นที่ระดับภูมิภาค ส่วนชนิด C มักเป็นการติดเชื้อที่แสดงอาการอย่างอ่อนหรือไม่แสดงอาการ และไม่ทำให้เกิดการระบาด
เชื้อไวรัสชนิด A แบ่งเป็นชนิดย่อย (subtype) ตามความแตกต่างของโปรตีนของไวรัสที่เรียกว่า hemagglutinin (H) และ neuraminidase (N) ชนิดย่อยของไวรัส A ที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในคนที่พบในปัจจุบันได้แก่ A(H1N1), A(H1N2), A(H3N2), A(H5N1) และ A(H9N2) ส่วนไวรัสชนิด B ไม่มีแบ่งเป็นชนิดย่อย
เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มียีโนมเป็น RNA แยกเป็น 7-8 ชิ้น ทำให้ยีโนมมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมได้ค่อนข้างบ่อย เรียกว่า genetic variation การเปลี่ยนแปลงยีโนมทำให้แอนติเจนซึ่งเป็นผลผลิตของยีนส์เปลี่ยนแปลงไปด้วย คือมี antigenic variation ซึ่งมี 2 แบบคือ
- Antigenic drift เป็นการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเกิด RNA point mutation ทำให้ amino acid เพียงหนึ่งหรือมากกว่านั้นเปลี่ยนไป แต่ไม่มากพอที่จะทำให้ H หรือ N เปลี่ยนไป antigenic drift ทำให้เกิดการระบาดในวงไม่กว้างนัก
- Antigenic shift เกิดขึ้นจากขบวนการ gene reassortant คือการที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A 2 สายพันธุ์เกิดการติดเชื้อในเซลล์หนึ่งเซลล์ มีการนำยีโนมจากไวรัสสายพันธุ์หนึ่งไปใส่ในอนุภาคของไวรัสอีกสายพันธุ์หนึ่งในเซลล์เดียวกัน ทำให้เกิดอนุภาคของไวรัสชนิดใหม่ ซึ่งแอนติเจนเปลี่ยนไปจนทำให้ H หรือ N เปลี่ยนไปจนเกิดชนิดย่อย (subtype) ใหม่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ (pandemic) มาแล้วในอดีต
ปัจจุบันสามารถพบ hemagglutinin (H) ที่แตกต่างกันถึง 15 ชนิด และ neuraminidase (N) 9 ชนิดของไวรัสชนิด A แต่มีเพียง H1N1 และ H3N2 ที่พบติดเชื้อในคนบ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของแอนติเจนที่เกิดได้บ่อยทำให้มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นต่างสถานที่และต่างระยะเวลา ดังนั้นจึงต้องมีระบบการเรียกชื่อเพื่อป้องกันความสับสน คณะผู้เชี่ยวชาญได้กำหนดให้เรียกชื่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามหลักสากลทั่วโลกดังนี้ ชนิดไวรัส/ชื่อเมืองหรือประเทศที่พบเชื้อ/ลำดับสายพันธุ์ที่พบในปีนั้น/ปี ค.ศ.ที่แยกเชื้อได้/ชนิดย่อยของ H และ N เช่น A/Sydney/5/97(H3N2), A/Victoria/3/75/(H3N2)
การศึกษาด้านนิเวศวิทยาบ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกำเนิดมาจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ของสัตว์ตระกูลนก (avian influenza virus) สัตว์นกน้ำ (aquatic bird) เป็นแหล่งรังโรค (reservoir) เชื้อไวรัสสามารถแบ่งตัวได้ในลำไส้ของสัตว์ประเภทเป็ดป่า (wild duck) โดยไม่ทำให้สัตว์เกิดอาการ สัตว์เหล่านี้ขับถ่ายเชื้อไวรัสจำนวนมากออกมาพร้อมอุจจาระ ในแต่ละปีจะมีลูกนกเป็ดน้ำจำนวนมากเกิดขึ้นทั่วโลกลูกนกเหล่านี้ได้รับเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำ เมื่อลูกนกเป็ดน้ำโตขึ้นก็จะย้ายถิ่นและแพร่กระ จายเชื้อไวรัสไปอย่างกว้างขวาง
การระบาดของ avian influenza บนเกาะฮ่องกงในปี พ.ศ.2540 ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส H5N1 บ่งชี้ว่าเชื้อแพร่กระจายจากนกที่อยู่ตามชายฝั่ง (shorebird) ไปสู่เป็ดโดยการปนเปื้อนของอุจจาระ จากนั้นแพร่ไปสู่ไก่และปักหลักอยู่ในตลาดขังสัตว์ปีกมีชีวิต (live bird market) นกที่อยู่ตามชายฝั่งและเป็ดไม่เป็นโรคเพราะเป็นแหล่งเก็บเชื้อโดยธรรมชาติ ส่วนไก่เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงและตายมาก คนติดเชื้อมาจากไก่ทางอุจจาระที่ปนเปื้อน (fecal oral) เชื้อไวรัสที่ผ่านสัตว์มาหลายเผ่าพันธุ์จะมีฤทธิ์ก่อโรคได้สูงในไก่และคน การผสมกัน (reassortment) ระหว่างไวรัสต่างเผ่าพันธุ์ (species) เกิดขึ้นได้ง่ายอาจทำให้เพิ่มชนิดย่อยใหม่ที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในคนได้ มีการศึกษาว่าการใช้อุจจาระเป็ดไปเลี้ยงปลาจะนำไปสู่การแพร่เชื้อไวรัส avian influenza ไปสู่หมู เชื้ออาจแพร่ไปในอาหารและซากนกที่นำไปเลี้ยงหมู
ไข้หวัดใหญ่มีความแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร ?
เกิดจากเชื้อไวรัสต่างชนิดกัน และมีความรุนแรงแตกต่างกัน โดยไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ส่วนไข้หวัดธรรมดานั้นเกิดจากการเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น rhinovirus, adenovirus เป็นต้น โดยไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้
การติดเชื้อ ติดต่อได้อย่างไรบ้าง
เชื้อไข้หวัดใหญ่ สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการหายใจ ได้รับน้ำมูก หรือเสมหะของผู้ป่วย โดยเชื้อจะผ่านเข้าทางเยื่อบุตา จมูก และปากการได้สัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ผ้าเช็ดหน้า ช้อน แก้วน้ำ การจูบ เป็นต้นการที่มือไปสัมผัสเชื้อแล้วขยี้ตา หรือเข้าปาก
โรคไข้หวัดใหญ่มาจากไหน?
- ผู้ป่วยไอหรือจาม ละอองฝอยขนาดเล็กของน้ำลายหรือแม้แต่น้ำมูกจะแตกตัวเป็นละอองเล็กๆล่องลอยในอากาศ และปลิวเข้าสู่ปากหรือจมูกของผู้ที่มีอาการป่วยอยู่ใกล้ๆ หากทำการสูดหายใจเข้าไป ทำให้ละอองฝอยเล็กๆ เหล่านี้ลงปอดได้
- มือสันผัสถูกน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วย เช่นลูกบิดประตู ราวบันได โต๊ะ เสื้อผ้า เมื่อไม่ได้ล้างมือให้สะอาดแล้วใช้มือจับจมูกและปากของตนเอง ทำให้สามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้
อาการของโรค
ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน ระยะฟักตัว 1 – 4 วัน โดยเฉลี่ย 2 วัน
- ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จะปวดตามแขน ขา ปวดข้อ ปวดรอบตา ปวดเมื่อยตามตัว
- ไข้สูง 39-40 องศา
- เจ็บคอ และคอแดง มีน้ำมูกใสๆ ไหล
- ไอแห้งๆ ตามตัวจะร้อนแดง ตาแดง
- อาเจียน หรือท้องเดิน เป็นไข้ 2-4 วัน แล้วค่อยๆ ลดลง แต่อาการคัดจมูกและแสบคอยังคงอยู่ โดยทั่วไปจะหายใน 1 วันสำหรับรายที่อาการรุนแรง มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อน ซึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ระบบอื่นๆ ด้วยเช่น
- พบอาการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ หรือมีอาการหัวใจวาย
- ระบบประสาท พบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศีรษะมาก และซึมลง
- ระบบหายใจ:มีหลอดลมอักเสบและปอดบวม ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก และเหนื่อย
โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักจะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีผู้ป่วยบางราย มีอาการไอ และปวดตามตัวนานถึง 2 สัปดาห์ ในรายที่เสียชีวิตมักมีอาการปอดบวม และโรคหัวใจ
โรคแทรกซ้อนหลังเป็นหวัด อันตรายสำหรับผู้สูงอายุ
ในทางการแพทย์ถือว่ากลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ออันตรายจากโรคหวัด นอกจากผู้สูงอายุแล้วยังมีเด็กเล็กๆ และผู้ที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ที่มีความเสี่ยงเช่นกัน กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนไปยังระบบอื่นๆ ในร่างกายได้ง่ายเมื่อเกิดเป็นหวัดที่รุนแรง เช่น
- ระบบหัวใจ : เยื่อหุ้มหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คนที่เป็นจะมีอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะหากผู้สูงอายุท่านเป็นโรคหัวใจอยู่แล้วก็มีโอกาสที่โรคจะทรุดหนัก อาจเกิดอาการหัวใจวายได้
- ระบบประสาท : สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คนที่เป็นจะมีอาการปวดศีรษะมาก ง่วงซึม ไปจนถึงขั้นหมดสิ
- ระบบหายใจ : หลอดลมอักเสบ ปอดบวม เกิดฝีในปอด หรือเกิดหนองในเยื่อหุ้มปอด อาการแสดงคือ จะรู้สึกว่าแน่นหน้าอกและเหนื่อยหอบ
- เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่อวัยวะอื่นๆ : เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางหรือหูชั้นในอักเสบ บางรายมีอาการหูอื้อ ปวดหู หรือมีเสียงดังในหู
- จากโรคแทรกซ้อนดังกล่าว พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มที่ได้รับอันตรายจนถึงกับเสียชีวิต คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากปอดบวม โรคหัวใจ หรือโรคประจำตัวที่เป็นอยู่
อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการเสียชีวิตส่วนใหญ่นั้น มาจากโรคแทรกซ้อนดังกล่าว พบว่าส่วนใหญ่กลุ่มที่ได้รับอันตรายจนถึงกับเสียชีวิต คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากปอดบวม โรคหัวใจ หรือโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ทุนเดิมอยู่แล้ว
สำหรับรายที่อาการรุนแรง มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อน ซึ่งจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ระบบอื่นๆ ด้วยเช่น
- พบอาการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ หรือมีอาการหัวใจวาย
- ระบบประสาท พบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศีรษะมาก และซึมลง
- ระบบหายใจ:มีหลอดลมอักเสบและปอดบวม ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก และเหนื่อย
- โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่มักจะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีผู้ป่วยบางราย มีอาการไอ และปวดตามตัวนานถึง 2 สัปดาห์ ในรายที่ เสียชีวิตมักมีอาการปอดบวม และโรคหัวใจ
ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่?
- หญิงมีครรภ์
- เด็กเล็ก อายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
- บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ ไตวาย หลอดเลือดสมอง เบาหวาน ธาลัสซีเมีย มะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ติดเชื้อเอชไอวี
- ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ไข้หวัดใหญ่มีภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง?
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนมักเกิดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปลายประสาทอักเสบ และสมองอักเสบ
ระยะติดต่อของไข้หวัดใหญ่
- ระยะเวลาการติดต่อของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จากคนอื่นๆ คือ1วันก่อนเกิดอาการ และ 5 วันหลังมีอาการ
- ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน
- ติดเชื้อแบคทีเรีย อาจจะทำให้ปอดบวม มีฝีในปอด มีหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
- ไข้หวัดในหญิงตั้งครรภ์ มักเป็นชนิดรุนแรงและมีอาการมาก และอาจทำให้แท้งบุตรได้
การป้องกันไข้หวัดใหญ่
อย่างแรกเลยการล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการเอามือเข้าปาก หรือขยี้ตา อย่าใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด เมื่อเวลาเจ็บป่วยให้พักที่บ้าน เวลาไอ หรือจามให้ใช้ผ้าปิดปาก และจมูก
การฉีดวัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่
การป้องกันที่ดีคือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ทำมาจากเชื้อที่ตายแล้ว โดยฉีดที่แขนปีละครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ภูมิคุ้มกันจึงจะสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ ผู้ที่มีประวัติแพ้สารโปรตีนประเภทไข่ ห้ามฉีดวัคซีนชนิดนี้ การฉีด จะเลือกผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน คือ
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ
- ผู้เป็นเบาหวานหญิงตั้งครรภ์ 3เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
- ผู้ที่อาศัยในบ้านพักคนชรา
- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- สมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคเรื้อรัง
- นักเรียนที่อยู่ร่วมกัน
- ผู้ที่จะไปเที่ยว หรือศึกษาต่อ ณ แหล่งระบาดของไข้หวัดใหญ่
- ผู้ที่ต้องการลดอัตราการติดเชื้อ และต้องได้รับวัคซีน
การดูแลตัวเองและคนใกล้ชิดเมื่อเป็นโรคไข้หวัดใหญ่
- เมื่อเริ่มรู้สึกป่วย ให้หยุดอยู่บ้านเพื่อลดการแพร่กระจายเชื่อไปสู่ผู้อื่น
- ปิดจมูกและปากด้วยผ้าหรือแม้แต่กระดาษทิชชูเมื่อมีอาการหรือเมื่อไอหรือจาม
- ทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วหรือที่ปนเปื้อนลงในถังขยะติดเชื้อให้เรียบร้อยและมิดชิด
- อย่าลืมล้างมือให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นการล้างมือด้วยสบู่ หากมีแอลกอฮอล์เจล (Alcohol Gel)
- เข้ารับการรักษาและรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์
- สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติหลังจากหายจากอาการไข้แล้วอย่างน้อย 1 วัน
การล้างมือ 7 ขั้นตอน
- ใช้ฝ่ามือถูฝ่ามือ
- ถูหลังมือและซอกนิ้ว ทั้ง 2 ข้าง
- ใช้ฝ่ามือถูฝ่ามือ และถูซอกนิ้ว ทั้ง 2 ข้าง
- ใช้หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ สลับกัน ทั้ง 2 ข้าง
- ถูบริเวณนิ้วหัวแม่มือด้วยฝ่ามือ
- ใช้ปลายนิ้วมือ ถูลงบนฝ่ามือ
- ถูรอบ ๆ ข้อมือ และล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ไข้หวัดใหญ่รักษาอย่างไร?
ไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้ หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลเองที่บ้านและรักษาตามอาการ เช่น เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว และใช้ยาลดไข้พาราเซตามอล หรือถ้ามีน้ำมูกให้ใช้ยาลดน้ำมูกและยาละลายเสมหะ ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อนและให้นอนพักผ่อน ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน อาจต้องใช้ยาต้านไวรัส โอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ในการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย สงสัยปอดอักเสบหรือมีอาการที่รุนแรงอื่น อาจมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาโดยการนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
สรุป
อย่างไรก็ตามอาการของไข้หวัดใหญ่ นั้นก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ทุกคนคิด แต่ด้วยการที่มันสามารถแพร่เชื้อได้เร็วมันเลยทำให้การระบาดนั้นเร็วกว่าปกติ หากท่านกำลังกังวลเรื่องการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น ผู้สูงอายุ การกายภาพบำบัด การจัดกิจกรรมบำบัด การชะลอความเสื่อม หากท่านกำลังกังวลเรื่องการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น ผู้สูงอายุ การกายภาพบำบัด การจัดกิจกรรมบำบัด การชะลอความเสื่อม ให้ ไอแคร์ เวลเนส จำกัด สามารถช่วยท่านดูแล ได้ทั้ง ระยะสั้น และระยะยาวค่ะ (รายวัน รายเดือน รายสัปดาห์)
สาขาในเมืองอุบล : 25/1 ถนน บูรพานอก ตำบล ปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000
MAP : https://maps.app.goo.gl/N1QevUBZrx3Jcsae8
สาขาห้วยวังนอง : 318/118 บ้านค้อเหนือ หมู่12, ตำบล กุดลาด อำเภอเมืองอุบลราชธานี อุบลราชธานี 34000
MAP : https://maps.app.goo.gl/3mfAELzrGKt24G3D9
*********************************
ติดต่อสอบถามเพื่อขอรับบริการ
ไอแคร์ เวเนส จำกัด
ไอแคร์ เวลเนส เซ็นเตอร์
โทร : 066-112-9500
ไอแคร์ เนอร์สซิ่งโฮมอุบลฯ – i Care
โทร : 066-109-4500
Line : @icare-nursing (มี@)
อินบล็อกสอบถามได้ตลอด 24 ชั่วโมง
*********************************
#ไอแคร์ เวลเนส เซ็นเตอร์ #ไอแคร์ เนอร์สซิ่งโฮมอุบลฯ – i Care #ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ #อุบลราชธานี #ผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลสุขภาพ #ผู้ช่วยพยาบาล #อำนาจเจริญ #ยโสธร #ศรีสะเกษ #ดูแลผู้สูงอายุ #เนอร์สซิ่งโฮม #ประกันสุขภาพ #โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ #อุบลรักษ์ #โรงพยาบาลพริ้นซ์อุบลราชธานี #โรงพยาบาลราชเวช #ไอแคร์ #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพทุกช่วงวัย #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ #ดูแลผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลคนชรา #ดูแลคนแก่ #ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น #ห้องพักฟื้น #กิจกรรมบำบัด