ในหลายๆครั้งเราก้มักจะได้ยินคำว่า Care Giver แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่เข้าใจว่า Care Giver คือใครมีหน้าที่ทำอะไร บทความนี้ ไอแคร์ เวลเนส เซ็นเตอร์ จะพาทุกท่านไขข้อสงสัยกับเรื่องนี้ Care Giver
ในหลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีการวางแผนการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุกันอย่างเข้มข้น ทำไมถึงต้องเตรียมการรับมือ คำตอบนั้นก็อยู่ในคำถามแล้ว เพราะสังคมผู้สูงอายุนั้นเป็นเรื่องเร่งด่วนมากๆอีกเรื่องเลยก็ว่าได้ ตามตลาดแรงงานคนที่มีอายุเกิน 60 ปี จะไม่มีใครจ้างทำงานทำให้พวกเขาไม่มีรายได้ และยิ่งอายุมากขึ้นสวนทางกับเรี่ยวแรงที่น้อยลง ๆ เรื่อย ๆ จนเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้ยากไปจนถึงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ภาระจึงตกอยู่กับลูกหลานที่ส่วนใหญ่ก็จะไม่มีเวลาดูแลเพราะมัวแต่ทำงานหาเงิน วัฏจักรแบบนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานเพราะยุคสมัยก่อนวัฒนธรรมไทยจะอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ่ แต่ละบ้านจะมีลูกมากแม้จะออกเรือนแต่ก็จะปลูกบ้านอยู่ใกล้กันทำให้ไม่มีปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุแตกต่างจากสมัยนี้ที่ครอบครัวเล็กลงแถมแยกกันไปอยู่คนละทิศละทางทิ้งพ่อแม่ให้อยู่ตามลำพัง
ในชีวิตของเรานั้น โอกาสที่จะได้ใช้บริการ ‘ผู้ดูแล’ มีเพียงไม่กี่ครั้ง และเมื่อถึงเวลานั้นมาถึง เราทุกคนมักเป็น มือใหม่ ในการหา ‘ผู้ดูแล’ คำถามที่ผมได้ยินบ่อยๆคือ
- ผู้ดูแล คือใคร เป็นพยาบาลหรือเปล่า ?
- ไม่รู้ว่าเราต้องดูเกณฑ์อะไรบ้างในการเลือกผู้ดูแลที่ดีให้คุณพ่อคุณแม่ ? (ส่วนใหญ่เราอาจดูแค่ รูปร่าง หน้าตา)
- เราควรจ้างผู้ดูแลโดยตรง หรือควรจ้างผ่านบริษัทดี ?
นั้นจึงเป็นเหตุผลหลักๆของ ไอแคร์ เวนเนส เซ็นเตอร์ ที่เล็งเห็นแนวโน้มนี้จึงเกิดเป็นบริการที่เรียกว่า Care Giver หรือผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง หรือที่เรียกกันติดปากตามอักษรย่อภาษาอังกฤษว่า CG แต่เรามีบริการที่ดหนือกว่านั้น เพราะเราไม่ได้แค่ดูแลผู้สูงอายุ แต่เรามีบริการที่หลากหลายยิ่งกว่า ไม่ว่าจะเป็น เนอร์สซิ่งโฮม บริการจัดส่งผู้ดูแลไปดูแลที่บ้านหรือโรงพยาบาล บริการพาพบแพทย์ หรือบริการที่บ้านไม่ว่าจะเป็นการกายภาพหรือแม้แต่การพยาบาล ซึ่งงานหลักของ CG จะเป็นการให้บริการที่บ้านหรือโรงพยาบาล เข้าช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน หรือแม้แต่ติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ดูแลด้านกิจวัตรประจำวัน อาบน้ำ แต่งตัว ป้อนข้าว ป้อนยา คัดกรอง ประเมินปัญหาสุขภาพและให้บริการด้านสุขภาพเบื้องต้น อย่างไรก็ตามที่ไอแคร เวลเนส ของเรานั้นยังมีการบริการที่เหนือกว่า ด้วยมาตรฐานและมีความเป็นมืออาชีพ
ง่ายๆเลยคือ ผู้ให้การดูแล (caregiver) หมายถึงบุคคลที่ให้การดูแลด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การให้การดูแลด้าน basic activities daily living จนถึงการดูแลที่ซับซ้อนแก่ผู้ได้รับการดูแล ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยเป็นการดูแลแบบต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการดูแล ดังนี้
- ผู้ให้การดูแลแบบเป็นทางการ (formal caregiver) เป็นผู้ที่ให้การดูแลที่ผ่านการฝึกอบรมเพื่อให้การดูแลผู้ได้รับการดูแลอย่างมีแบบแผนและเป็นทางการ ได้แก่ แพทย์ หรือ พยาบาล เป็นต้น และเป็นการไปให้บริการโดยมีการคิดค่าตอบแทน
- ผู้ให้การดูแลแบบไม่เป็นทางการ (informal caregiver) เป็นผู้ให้การดูแลที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมเพื่อให้การดูแล มักเป็นญาติของผู้ได้รับการดูแล หรือเรียกว่า family caregiver ได้แก่ สามีหรือภรรยา เป็นต้น ผู้ให้การดูแลมักจะฝึกฝนหรือเรียนการดูแลด้วยตนเอง และไม่ได้มีค่าตอบแทนเมื่อต้องให้การดูแล ผู้ให้การดูแลแบบไม่เป็นทางการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ให้การดูแลหลัก (primary caregiver) และผู้ให้การดูแลรอง (secondary caregiver) โดยผู้ให้การดูแลหลักจะให้การดูแลผู้ได้รับการดูแลเป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่ผู้ได้รับการดูแลตื่นจนถึงเข้านอนโดยส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ได้รับการดูแล ในขณะที่ผู้ให้การดูแลรองจะมาช่วยผู้ให้การดูแลหลักดูแลผู้ได้รับดูแลแค่บางส่วนเท่านั้น เช่น มีหน้าที่พาผู้ได้รับการดูแลไปพบแพทย์ตามนัด หรือมาดูแลผู้ได้รับการแทนผู้ให้การดูแลหลักบางช่วงเวลาเท่านั้น เช่น ช่วงผู้ให้การดูแลหลักต้องการพักผ่อนหรือติดธุระไม่สามารถให้การดูแลได้ หรือบางครั้งผู้ดูแลรองอาจจะเป็นกลุ่ม formal caregiver ที่ผู้ให้การดูแลหลักจ้างมาเพื่อดูแลผู้ได้รับการดูแลในส่วนของการดูแลที่ผู้ให้การดูแลหลักให้การดูแลเองไม่ได้ เช่น การเปลี่ยนสายปัสสาวะ หรือจ้าง formal caregiver มาให้มาดูแลผู้ได้รับการดูแลแทนผู้ให้ดูแลหลักเป็นระยะเวลาสั้นในช่วงที่ผู้ให้การดูแลหลักต้องการการพักจากการดูแล
ขอบเขต/บทบาทหน้าที่ของ Caregiver ตามแผนการดูแลที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่
- ดูแลกิจวัตรประจาวันของผู้สูงอายุ เช่น การรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อน การเคลื่อนย้าย การขับถ่าย ให้ถูกสุขลักษณะปลอดภัยเหมาะสมกับวัยของผู้สูงอายุ
- สังเกตพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงต่างๆของผู้สูงอายุ รวมทั้งเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุ และต้องรายงานให้ญาติของผู้สูงอายุทราบ
- ส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทุกด้านตลอดจนดูแลสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยถูกสุขลักษณะเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
- เขียนรายงานการปฏิบัติงานเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด
- กรณีที่มีการประกอบอาหารให้ผู้สูงอายุต้องดาเนินการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร พร้อมทั้งดูแลเครื่องมือเครื่องใช้ในการปรุงประกอบอาหารให้สะอาด และถูกสุขลักษณะในทุกขั้นตอนและล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
- จัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยที่เกิดจากการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง โดยทิ้งลงในภาชนะรองรับที่ถูกหลักสุขาภิบาล และระวังป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกับอาหารและเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค หรือก่อให้เกิดเหตุราคาญต่อบ้านเรือนใกล้เคียง
- ส่งต่อผู้สูงอายุกรณีที่พบว่ามีเหตุฉุกเฉิน หรือการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุตามระบบการส่งต่อและวิธีการอย่างถูกต้อง
- จัดทารายงานผลการดูแลผู้สูงอายุรายเดือน เพื่อรายงานต่อผู้จัดการระบบฯ
ผู้ดูแล เขาคือ พยาบาลหรือเปล่า?
- พยาบาลวิชาชีพ (Register Nurse) หมายถึง พยาบาลมืออาชีพเรียนจบปริญญาตรีจากคณะพยาบาลศาสตร์ และมีสภาพยาบาลรับรองวุฒิการศึกษาและการทำงาน ซึ่งเป็นพยาบาลชุดขาวที่เราเจอในโรงพยาบาล เนื่องจากทักษะการพยาบาลมีความซับซ้อนสูงและต้องใช้เวลาในการศึกษาเป็นเวลายาวนาน จึงมีการรักษาบางอย่างที่พยาบาลเท่านั้นสามารถทำได้
- ผู้ดูแล (Caregiver) หมายถึง ผู้ดูแลที่ไม่ใช่พยาบาลวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ดูแล และ ไอแคร์ เวลเนส จำกัด นับอยู่ในกลุ่มนี้
เราจะเลือกผู้ดูแลที่ดีได้อย่างไร?
เมื่อเราต้องเลือกผู้ดูแลหลายคน อาจดูเพียงรูปร่างหน้าตา บ้างอาจขอสัมภาษณ์ หรือส่วนใหญ่แล้วมักไม่รู้ต้องเลือกอย่างไร เลยต้องรับเข้ามาทำงานก่อนค่อยว่ากัน ซึ่งก็มักพบว่าส่วนใหญ่มักไม่เป็นอย่างที่ต้องการ ทำงานไม่ได้บ้าง หรือเข้ากับคนไข้ไม่ได้ ทำให้ต้องปวดหัวในการเปลี่ยนคนอยู่บ่อยๆ สิ่งสำคัญต้องดูมีหลัก 3 อย่างคือ
- ทักษะที่คนไข้ต้องการ (Technical skill) ผู้ดูแลทำได้หรือไม่ เช่น หากเป็นคนไข้ติดเตียง อาจต้องมีทักษะในการเคลื่อนย้าย การเช็ดตัวคนไข้บนเตียง หรือหากเป็นคนไข้อัมพาตอาจต้องรู้ทักษะการกายภาพเบื้องต้น เพื่อไม่ให้ข้อยึดติด
- ทัศนคติและบุคลิก (Personality & Attitude) อันนี้อาจดูไม่สำคัญเท่าข้อแรก แต่แท้จริงแล้ว ผมพบว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะบอกได้ว่า ผู้ดูแลจะเข้ากับคนไข้และครอบครัวได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น คนไข้บางคนอาจอยากได้ผู้ดูแลที่คุยเก่งให้กำลัง หรือ บางครอบครัวอาจอยากได้ผู้ดูแลที่เงียบๆ เรียบร้อย ประวัติ
- อาชญากรรม (Criminal Background Check) เนื่องจากเรากำลังเลือกคนแปลกหน้าเข้าไปดูแลคนที่เรารัก ดังนั้นเราต้องมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย ดังนั้นขั้นตอนนี้จึงมีความสำคัญเช่นกัน
ควรจ้างผู้ดูแลจากบริษัท หรือ จ้างโดยตรงดี ?
โดยทั่วไปแล้วการจ้างโดยตรง อาจดูเหมือนลดค่าใช้จ่ายไปได้เล็กน้อย แต่หลายครั้งนำไปสู่ปัญหาที่ชวนปวดหัวอยู่ไม่น้อย เช่น
- ไม่ตรงปก : เราไม่มีทางรู้เลยว่า คนที่จะมาดูแลนั้นมีทักษะจริงหรือไม่ เพราะเมื่อเราติดต่อ ผู้ดูแลมักบอกว่าทำได้ มีประสบการณ์ ดูมาแล้วหลายสิบปี แต่เมื่อมาถึงหน้างานอาจพบว่า ไม่ได้มีทักษะอย่างที่ว่าไว้ หรือ อาจมีแต่ไม่ได้เป็นทักษะที่ถูกต้อง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดูแล
- ลาฉุกเฉิน : ไม่มีใครสามารถทำงานได้ 365 วัน ดังนั้นต้องมีวันที่ผู้ดูแลต้องขอลา อาจด้วยการลาป่วย หรือการลาไปทำภารกิจส่วนตัว ซึ่งหลายครั้งเมื่อมีการแจ้งลาฉุกเฉิน การหาผู้ดูแลแทนไม่ใช่เรื่องง่าย และหลายครั้งทำให้สุดท้ายเราต้องมาลางานแทน ซึ่งก็มีความเสียหายต่องานที่เราทำไม่ใช่น้อย
- ไม่รับผิดชอบ : เมื่อเราจ้างผู้ดูแลโดยตรง เมื่อเกิดปัญหาอาจไม่มีผู้รับผิดชอบ เพราะเพียงผู้ดูแลปิดโทรศัพท์ หนีกลับบ้านไปเราก็ไม่สามารถติดตามอะไรได้
ดังนั้นแม้ดูเหมือนจะประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เล็กน้อยจากการจ้างตรง แต่แท้จริงมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่เกิดจากความเสี่ยงซ่อนอยู่ ดังนั้นอาจพูดได้ว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายนั่นเอง”
ดังนั้น หากคุณกำลังมองหา ‘ผู้ดูแลมืออาชีพ’ ให้คนในครอบครัวหรือคนสำคัญ ‘ไอแคร์ เวลเนส จำกัด’ ถือเป็นตัวเลือกที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ และบริการที่คุ้มค่ากับราคามากที่สุดในปัจจุบัน ด้วยการบริการที่เหนือกว่า
- สถานที่สะดวกสบาย อุปกรณ์ทันสมัย ครบครัน เหมาะสำหรับการฟื้นฟูสุขภาพ
- ห้องพักตกแต่งสวยงาม ระดับมาตรฐาน (ห้องพักมีให้เลือกทุกความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ห้องรวม, Standard, Delux, VVIP)
- พื้นที่ภายในตึก ผ่านการออกแบบด้วยหลัก Universal design ที่เหมาะกับการใช้ชีวิตของผู้พักฟื้น และผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
- การบริการพรีเมี่ยม มีเจ้าหน้าที่ให้บริการดูแลตลอด 24ชม. จนท.ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 840ชม. และมีประสบการณ์ของเรา เพิ่มประสิทธิภาพช่วยลดความเสี่ยงและอาการบาดเจ็บจากการดูแลผิดวิธี
- ราคาสบายกระเป๋า เข้าถึงง่าย แพ็กเกจค่าใช้จ่ายปรับได้ตามใจผู้รับบริการ
- มีทีมสหวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 25ปี
- มีกิจกรรมนันทนาการระหว่างวันช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย และสมอง
- มีปุ่มฉุกเฉินทั่วอาคารรักษามาตรฐาน พร้อมเข้าช่วยเหลือทันทีเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน
- ใกล้ รพ.มากมาย รพ.สรรพสิทธิ์, รพ.พริ้นซ์, รพ.อุบลรักษ์ ตอบสนองทุกความต้องการและเป็นเลิศในด้านการบริการตามระบบสากลและได้มาตรฐาน
สรุป
เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้บริการ CareGiver สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็มีในหลายๆปัจจัยดั่งที่บทความข้างต้นได้กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งเลยที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องของความเป็นมืออาชีพ ที่ไอแคร์ เวลเนส จำกัด มีผู้ดูแลมากที่สุดในจังหวัดอุบลราชธานี มีผู้ดูแลในการสับเปลี่ยนหมุนเวียน และเรามีทีมงาน Customer service ให้บริการตลอด 7 วัน ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการหาคนแทน หรือการจัดเวรแต่อย่างใดเมื่อรับงานแล้วพร้อมดูแลคุณด้วยใจ
หากท่านกำลังกังวลเรื่องการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น ผู้สูงอายุ การกายภาพบำบัด การจัดกิจกรรมบำบัด การชะลอความเสื่อม ให้ ไอแคร์ เวลเนส จำกัด สามารถช่วยท่านดูแล ได้ทั้งระยะสั้น และระยะยาวค่ะ (รายวัน รายเดือน รายสัปดาห์)
*********************************
*********************************
#ไอแคร์ เวลเนส เซ็นเตอร์ #ไอแคร์ เนอร์สซิ่งโฮมอุบลฯ – i Care #ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ #อุบลราชธานี #ผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลสุขภาพ #ผู้ช่วยพยาบาล #อำนาจเจริญ #ยโสธร #ศรีสะเกษ #ดูแลผู้สูงอายุ #เนอร์สซิ่งโฮม #ประกันสุขภาพ #โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ #อุบลรักษ์ #โรงพยาบาลพริ้นซ์อุบลราชธานี #โรงพยาบาลราชเวช #ไอแคร์ #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพทุกช่วงวัย #ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและการดูแลผู้สูงอายุ #ดูแลผู้สูงอายุ #กายภาพ #ดูแลคนชรา #ดูแลคนแก่ #ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น #ห้องพักฟื้น #กิจกรรมบำบัด